การวัดอุณหภูมิผิวหนังใต้เสื้อผ้า และความสำคัญในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

การวัดอุณหภูมิผิวหนังใต้เสื้อผ้า และความสำคัญในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมก้าวหน้า อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้าไม่ได้มุ่งเน้นแค่เพียงการออกแบบที่สวยงามหรือความทนทานเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและความสบายของผู้สวมใส่ การวัดอุณหภูมิผิวหนังใต้เสื้อผ้า เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาเสื้อผ้าที่ตอบโจทย์สภาพแวดล้อมที่หลากหลายและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค

ความสำคัญของการวัดอุณหภูมิผิวหนังใต้เสื้อผ้า

การวัดอุณหภูมิผิวหนังภายใต้เสื้อผ้าเป็นส่วนที่มีความสำคัญในหลากหลายบริบท ตั้งแต่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไปจนถึงการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ และยังไม่รวมถึงการศึกษาค้นคว้าในมหาลัยต่างๆ โดยการวัดอุณหภูมิผิวหนังช่วยให้เราเข้าใจว่าร่างกายตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและวัสดุเสื้อผ้า รวมถึงการตัดเย็บและการผลิตเนื้อผ้าอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติช่วยระบายอากาศ อุณหภูมิผิวหนังอาจลดลง ทำให้รู้สึกเย็นสบาย ในทางกลับกัน วัสดุที่ไม่สามารถระบายอากาศได้ดีอาจทำให้อุณหภูมิผิวหนังสูงขึ้นและเกิดความไม่สบายได้ และในการใช้งานของแจ็กเก็ตกันหนาวในพื้นที่หนาวมากเป็นพิเศษก็จำเป็นที่จะต้องมีการทำ R&D ของ แจ็กเก็ตด้วย

ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิใต้เสื้อผ้า

โดยการส่งผลของอุณหภูมิผิวหนังใต้เสื้อผ้า มีอยู่หลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เช่น

  • ประเภทของวัสดุ : วัสดุที่มีความสามารถในการระบายความร้อน เช่น โพลีเอสเตอร์ที่ผสมเทคโนโลยี Coolmax หรือใยสังเคราะห์ที่ออกแบบพิเศษ สามารถลดอุณหภูมิผิวหนังได้ดีกว่าวัสดุธรรมดา เช่น ผ้าฝ้าย
  • โครงสร้างของเสื้อผ้า : เสื้อผ้าที่มีการออกแบบให้มีช่องระบายอากาศหรือใช้เทคโนโลยี “mesh” ช่วยเพิ่มการระบายความร้อน
  • กิจกรรมที่ทำ : การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายทำให้อุณหภูมิผิวหนังเพิ่มขึ้น การเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมช่วยลดการสะสมความร้อนในร่างกาย
  • สภาพแวดล้อม : อุณหภูมิและความชื้นในสภาพแวดล้อมมีผลโดยตรงต่อการระบายความร้อนของร่างกาย

การวัดอุณหภูมิผิวหนังใต้เสื้อผ้า ในกระบวนการ R&D สิ่งทอหรือเสื้อผ้า

ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า การวัดอุณหภูมิผิวหนังเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อความสบายหรือเพื่อการใช้งานเฉพาะทาง เช่น เสื้อผ้ากีฬา เสื้อผ้าเทคนิค (Technical wear) หรืออีกชื่อก็คือยูนิฟอร์มของเจ้าหน้าที่ พนักงานดับเพลิง ทหาร ตำนวน และเสื้อผ้าที่ใช้ในงานกลางแจ้ง

ทำไมต้องวัดอุณหภูมิผิวหนังใน R&D เสื้อผ้า อุตสาหกรรมสิ่งทอ

  • เพื่อเพิ่มความสบาย : ข้อมูลอุณหภูมิช่วยให้นักพัฒนาสามารถปรับปรุงวัสดุและการออกแบบเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งาน และขยายกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสม
  • เพื่อทดสอบคุณสมบัติของวัสดุ : การทดลองเปรียบเทียบวัสดุที่แตกต่างกันช่วยให้นักพัฒนาทราบว่าวัสดุชนิดใดเหมาะสมที่สุดสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การลดความร้อนสะสม หรือการสะสมความร้อนให้ได้มากที่สุดเพื่อกันหนาว
  • เพื่อความปลอดภัย : ในบางกรณี เช่น เสื้อผ้าสำหรับงานกู้ภัยหรือกิจกรรมในสภาพอากาศสุดขั้ว การวัดอุณหภูมิช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สวมใส่เกิดภาวะร้อนเกินหรือเย็นเกินไป คล้ายกับการ Monitoring เพื่อให้ทราบว่าบุคคลที่ใส่ตอนนี้กำลังอยู่ในสภาวะไหน และสามารถเข้าช่วยเหลือได้ทัน
  • เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค : ข้อมูลจากการวัดอุณหภูมิช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถพัฒนาเสื้อผ้าที่ตอบโจทย์ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและขยายกลุ่มเป้าหมายลูกค้าได้ไกลมากขึ้น

ผลกระทบต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานจากอุณหภูมิผิวหนังใต้เสื้อผ้า

การเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมและมีการพิจารณาอุณหภูมิผิวหนังสามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานได้ เช่น

  • ลดความเสี่ยงจากความร้อนสะสม : เสื้อผ้าที่ช่วยระบายความร้อนลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลมแดด (Heatstroke) 
  • เพิ่มสมรรถภาพทางกาย : การสวมใส่เสื้อผ้าที่ช่วยรักษาอุณหภูมิผิวหนังในระดับที่เหมาะสมช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้เต็มที่ อย่างในวิทยศาสตร์กีฬา และนักกีฬาต่าง ๆ ที่ต้องมีการออกแบบให้เสื้อผ้ากีฬา มีความยืดหยุ่นที่สูงและรายความร้อนได้ดี หรือกีฬาบางประเภทที่ต้องใช้ความทนทานที่สูง
  • ส่งเสริมการฟื้นตัว : เสื้อผ้าบางประเภท เช่น ชุดบีบอัด (Compression Garments) มีบทบาทในการปรับอุณหภูมิและส่งเสริมการไหลเวียนเลือด ดังนั้นอุณหภูมิผิวหนังจึงมีส่วนที่สำคัญในการปรับอุณหภูมิหากเป็นชุด Inner ที่ใช้ในการกันหนาว ก็จำเป็นที่จะปรับอุณหภูมิและทำให้ผู้ใช้งานอุ่น

เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิผิวหนัง

ปัจจุบันมีการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีหลายประเภทที่ถูกนำมาใช้ ในการวัดอุณหภูมิผิวหนังภายใต้เสื้อผ้า และจะแบ่งไปตามจุดประสงค์การใช้งาน

  • เซนเซอร์อินฟราเรด : ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ง่ายและรวดเร็วโดยไม่ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์
  • กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging) : ใช้สำหรับตรวจสอบการกระจายความร้อนบนพื้นผิวของร่างกาย และสามารถใช้งานได้ง่าย โดยไม่ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์มาก
  • อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (Wearables ): เช่น นาฬิกาหรือเสื้อผ้าที่ฝังเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลได้ในชีวิตประจำวัน หรือขณะออกกำลังกายกล้างแจ้งได้

อุปกรณ์ที่มาพร้อมโพรบเซนเซอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถติดตั้งงกับผิวหนังเพื่อวัดอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง Monitoring ได้ มีการวัดที่แม่นยำและคงที่รวมทั้งสามารถวัดอุณหภูมิในทศนิยมหลายตำแหน่งได้

เครื่องวัดอุณหภูมิผิวหนัง แบรนด์ GRAM ด้วยการรับรองจากสถาบันวิจัย มหาลัย และ โรงงานอุตสาหกรรมแบรนด์ดังจากทั่วทุกมุมโลก ด้วยความขนาดที่เล็กและน้ำหนักที่เบา 150g แต่มาพร้อมกับความแม่นยำที่สูง จัดเก็บข้อมูลได้เยอะ และสามารถใช้งานได้ในระยะยาว

การประยุกต์ใช้งานเครื่องมือวัดอุณหภูมิผิวหนัง ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า

การประยุกต์ใช้งานเครื่องมือวัดวัดอุณหภูมิผิวหนัง ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า

การวัดอุณหภูมิผิวหนังภายใต้เสื้อผ้า ถูกนำมาใช้ในหลายๆ เสื้อผ้าและมีบทบาทสำคัญในเสื้อผ้าแต่ละชนิด

  • เสื้อผ้ากีฬา : ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายและลดความร้อนสะสม
  • เสื้อผ้าทางการแพทย์ : ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
  • เสื้อผ้าแฟชั่น : วัสดุที่ปรับตัวกับสภาพอากาศช่วยเพิ่มความพึงพอใจของผู้บริโภค
  • เสื้อผ้ากลางแจ้ง : สำหรับกิจกรรมปีนเขา ตั้งแคมป์ หรือเดินป่าในสภาพอากาศที่หลากหลาย
  • เสื้อผ้าสำหรับอุตสาหกรรมพิเศษ : เช่น ชุดทำงานในห้องเย็นหรือในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูง
  • เสื้อผ้าเฉพาะทาง (Technical Wear) : สำหรับเจ้าหน้าที่ทหารที่ต้องการชุดที่ระบายความร้อนได้ดี หรือ พนักงานดับเพลิงที่ต้องการเสื้อผ้าที่กันไฟและความสัมพันธ์กับความร้อนของผิวหนัง รวมถึงชุดกันไฟอื่นๆ

ความสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ

การวัดอุณหภูมิผิวหนังภายใต้เสื้อผ้าไม่เพียงแค่ช่วยให้เราเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและเสื้อผ้า แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการพัฒนาเสื้อผ้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในทุกสถานการณ์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ทั้งมีประสิทธิภาพและนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

รวมทั้งทางด้านความปลอดภัยของเสื้อผ้าเฉพาะ อย่างชุดกันไฟ ที่หากเป็นชุดที่ได้รับการวิจัยมาอย่างดีนั้นหมายความว่า การวัดกำลังช่วยชีวิตใครอีกหลายๆ คน

Picture of Koffaree S.

Koffaree S.

Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม

ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า