3 ข้อที่ควรรู้ในการเลือก เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge มีอะไรบ้าง

3 ข้อที่ควรรู้ในการเลือก เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge มีอะไรบ้าง

เกจวัดแรงดันที่ดีนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา หรือวัสดุคุณภาพเพียงอย่างเดียว แต่การที่เราสามารถเลือกใช้เกจวัดแรงดันให้ได้ประโยชร์สูงสุด มันเกิดจากการที่เรารู้จักลักษณะงานของตนเอง และสามารถเลือกใช้เกจวัดแรงดันที่ตรงตามเป้าหมายของคุณ โดยเราได้นำ 3 ปัจจัยหลักมาให้ได้ลองพิจารณาในเบื่องต้นว่าก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อ หรือเชื่อใครนั้น เราควรรู้ในเรื่องใดบ้าง

วิธีเลือกใช้ เกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge) 3 ข้อที่ควรรู้

1. เลือกใช้เกจวัดแรงดันตามประเภทของงาน

งานแต่ละงานมักมีข้อแตกต่างกันเสมอ โดยมักมีการแบ่งใช้ดังนี้ ลม น้ำ น้ำมัน ก๊าซ สารกัดกร่อน สารไม่กัดกร่อน หรือสุญญากาศ เช่น หากต้องการใช้วัดลมและน้ำ ควรเลือกใช้เกจแบบย่านความวัดต่ำ ที่มีความละเอียดสูง หากต้องการวัดน้ำมัน ก็ควรเลือกแบบย่านความวัดสูง หรือถ้าต้องการวัดสารที่มีการกัดกร่อน ควรพิจารณาจากตัวเรือนที่ทำจากวัสดุที่แข็งแรงทนการสึกกร่อนได้ดี เช่น วัสดุที่ทำจากสแตนเลส มักมีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อน

2. พิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของเกจวัดแรงดัน

เมื่อรู้ว่าเราต้องเลือกเกจชนิดไหนแล้ว ให้พิจารณาถึงลักษณะการใช้งานต่างๆ ของตัวเกจวัดแรงดันถัดมา เพื่อความเหมาะสมต่อการใช้งานตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ คุณลักษณะเกจวัดแรงดันที่ควรดูหลักๆ มีดังนี้

3 ข้อที่ควรรู้ในการเลือก เกจวัดแรงดัน ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง

ขนาดหน้าปัด

ขนาดที่เป็นนิยมส่วนมากคือ 2.5 และ 4 แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรพิจารณาถึงสถานที่ใช้งานของเราเช่นกัน เช่น หากใช้งานในพื้นที่แคป ก็ควรเลือกขนาด 1.5 นิ้ว หากพื้นที่มีขนาดกลางใช้งานทั่วไป ก็ควรเลือก 2-2.5 นิ้ว หากพื้นที่ขนาดใหญ่และมีระบบแรงดันสูง มองอ่านค่าง่าย ก็ควรเลือกขนาด 4 นิ้ว หรือหากพื้นที่ขนาดใหญ่

และต้องการความชัดเจนในกระบวนการสูง ควรเลือกขนาด 8 นิ้ว เพื่อให้เกิดการมองเห็นได้ง่าย รวดเร็ว ซึ่งข้อมูลจะมีความละเอียดกว่าขนาด 4 นิ้ว

หน่วยวัด

ที่นิยมใช้ ได้แก่ 

  • Bar บาร์ (ระบบ SI)
  • Kgf/cm2 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ระบบแมติก) คนไทยเรานิยมเรียกว่า กิโล เฉยๆ
  • PSI ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (ระบบอังกฤษ)
  • mmg มิลลิเมตรปรอท
  • atm ค่าความดันอากาศมาตรฐาน
  • Pa (pascal ระบบแมติก) ส่วนใหญ่จะพบเป็น kPa (กิโลปาสกาล) หรือ MPa (เมกะปาสกาล)

รูปแบบเกลียว

แบบของเกลียวที่จะใช้ต่อกับอุปกรณ์อื่น เช่น

  • เกลียว NPT (National Pipe Tapered)
  • เกลียว BSP (British Standard Pipe)
  • เกลียว G (หรือ GU)
  • เกลียว NPS (National Pipe Straight)
  • เกลียว Metric (M)
  • เกลียว SAE (Society of Automotive Engineers)
  • เกลียว PT (Pipe Thread)
  • เกลียว JIC (Joint Industry Council)

ย่านการวัด

ช่วงความดันต่ำสุด-สูงสุด ที่อุปกรณ์ของเราสามารถวัดได้

ความแม่นยำและน่าเชื่อถือ

อ้างอิงจากผลการทดสอบหรือรีวิวจากผู้ใช้งานอื่นๆ
หรือฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อการใช้งานของเรา

3. พิจารณางบประมาณที่มี

หากมีงบประมาณมากและต้องการความแม่นยำ ต้องการค่าความละเอียดสูง ควรเลือกใช้เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล เพราะเกจแบบดิจิตอลวัดค่าได้ละเอียดกว่า ใช้งานง่าย มีความสะดวกต่อการใช้งานมากกว่าแบบอนาล็อก

ข้อดีการใช้เกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge) ในอุตสาหกรรม

  • การบวนการทำงานมีความรวดเร็วและปลอดภัย
  • ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐานตามความต้องการ
  • ประหยัดเวลาและต้นทุนต่ำ ขั้นตอนทำงานไม่ซับซ้อน
  • บำรุงรักษาเชิงป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากอายุการใช้งานเครื่องจักร
  • ทราบถึงปัญหาของกระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว
Picture of Thaksina Suksai (Bestie)

Thaksina Suksai (Bestie)

Digital marketing intern of IKKI Thailand
รากฐาน คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการนำไปต่อยอดในเรื่องต่างๆ เพราะมันทำให้เราเข้าใจกระบวนการทำงานได้หลากหลายอย่างวงกว้าง เข้าใจความเป็นธรรมชาติ จนเกิดการคิดวิเคราะห์ตกผลึกเป็นไอเดียสำคัญที่สามารถช่วยเหลือผู้คนในโลกใบนี้ได้มากมายอย่างแท้จริง