ค่าที่มักเห็นกันบ่อยๆ ใน Drawing ชิ้นงานที่เป็นลักษณะรู ทรงกระบอก เพลา หรือชิ้นงานที่ต้องนำไปส่วมต่อ เรามักจะเห็นการกำหนดค่าด้วย วงกลมแล้วมี M หรือ L อยู่ด้านใน นั้นคือสัญลักษณ์ที่จะบอกเราถึงสภาวะเนื้อวัสดุ MMC LMC สำหรับการผลิตเผื่อ Tolerance สำหรับการติดตั้งใน Final product ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับ Material Condition และ MMC LMC เพื่อไม่ให้เราพลาดในการผลิตชิ้นงาน
สภาวะเนื้อวัสดุ (Material Condition) จะถูกกำหนดค่าและวิเคราะห์ขึ้นจาก Feature of Size (รูปทรงที่ถูกกำหนดค่าขึ้นมาเช่น ความยาว ความกว้าง ความสูง ความหนา ไดมิเตอร์ เป็นต้น) โดยที่ สภาวะเนื้อวัสดุ (Material Condition) นี้จะพิจารณาจากปริมาณเนื้อวัสดุของชิ้นงานที่แตกต่างออกไปจากค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นค่าหลัก หรือหากเปรียบเทียบให้ง่ายขึ้น ก็คล้ายกับ ค่าความเผื่อ Tolerance แต่แตกต่างกันที่ Material Condition จะกำหนดครึ่งต่อครึ่ง
สภาวะทั้งสองนี้จะแตกต่างกันหลักคือเรื่องของการใช้งาน โดยที่ MMC จะไปปรากฏบนชิ้นงานหรอ Drawing ชิ้นงานเภทรู ที่ต้องมีการติดตั้งบางอย่าเข้าไปในรูของชิ้นงาน แต่ในทางกลับกัน LMC จะใช้กับชิ้นงานประเภทกระบอกหรือเพลา ที่จะใช้กำหนดค่าของชิ้นในและขนาดสูงสูงของชิ้นก่อนจะสามารถนำเข้าไปติดตั้งในชิ้นงานที่เป็นรูได้
สภาวะมากที่สุดของเนื้อวัสดุ หรือ MMC คือสภาวะที่สามารถรับได้ นั้นหมายความว่า ขนาดของรูที่กว้างมากที่สุด และยังสามารถนำเพลาเข้าไปติดตั้งได้
ซึ่งหากเรามองภาพให้ง่ายที่สุดนั้นก็คือ ค่า MMC จะมีค่าเท่ากับ 10.0 ถึง 10.5 mm (ขนาดจะต้องอยู่ในกำหนด เพื่อกำหนดให้เพลามีขนาดที่เล็กกว่า)
และจะมีการใช้สัญลักษณ์ M ในวงกลมกำกับใน Drawing
สภาวะวัสดุน้อยที่สุดของเนื้อวัสดุ หรือ LMC คือสภาวะที่สามารถรับได้น้อยที่สุด นั้นหมายความว่า ขนาดของเพลาที่สามารถใหญ่ที่สุด แต่ยังต้องเล็กกว่าขนาดของรู
หรือหาก MMC เท่ากับ 10.1 ขนาดของเพลาจะต้องอยู่ในระยะของ 9.5 ถึง 10.0 เพื่อให้สามารถติดตั้งสวมใส่ เพลาเข้าไปได้ และจะมีการใช้สัญลักษณ์ L ในวงกลม
สภาวะที่ไม่คำนึงถึงเนื้อวัสดุ หรือ RFS Regardless of Feature sizes
ซึ่งสภาวะนี้คือสภาวะที่ไม่ต้องคำนึงถึง MMC LMC ค่าสูงสุดหรือต่ำสุด และจะเป็นค่าอะไรก็ได้และใช้ในการระบุค่าความคลาดเคลื่อน เช่น 9.5 ถึง 10.5 mm
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า