การทดสอบแรงดึง Tensile testing

การทดสอบแรงดึง (Tensile testing) ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

หลายอุตสาหกรรมมักจะมีการทำ Tensile testing เพื่อใช้ทดสอบคุณสมบัติของวัสดุชิ้นนั้น เสริมสร้างความปลอดภัยในการผลิตตามกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ให้ชิ้นงานที่ออกมาได้มาตรฐานเป็นไปตามสากล ลดความเสี่ยงการนำไปใช้งานต่อที่อาจก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายได้

ความหมายของ Tensile testing

Tensile Testing หรือ การทดสอบแรงดึง คือ เป็นการทดสอบเพื่อหาค่าความเค้น (Stress) ภายใต้แรงดึงหรือการยืดในแนวแรงที่ตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัดของวัสดุ วัสดุออกแรงต้านเพื่อไม่ให้เกิดการขาดออกจากกัน ใช้เพื่อทดสอบความแข็งแรงและแรงอัดของวัสดุ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการประกอบพิจารณาในการเลือกวัสดุที่เหมาะสม และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในขั้นตอนการผลิต รวมถึงเป็นการตรวจสอบชนิด ความบกพร่องของวัตถุนั้น ปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เมื่ออยู่ในสภาวะการใช้งานทางอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของ เครื่อง UTM (Tensile testing)

เครื่องทดสอบแรงดึงชนิดนี้เป็นเครื่องวัดแรงดึงแบบเสาคู่ (Double Column) โดยเสาแนวตั้งทั้ง 2 จะยึดติดกับฐานพร้อมมีการติดตั้งระบบซอฟแวร์และโหลดเซลล์ที่สามารถวิเคราะห์อ่านค่าวัดน้ำหนัก หรือแรงวัดด้วยเซนเซอร์ได้หลากหลายหน่วย เช่น นิวตัน (N) , กิโลนิวตัน (kN),  กิโลกรัม (kg), กรัม (g), ปอนด์ (lb)

การทดสอบแรงดึงด้วยเครื่อง UTM เราสามารถยึดตัวอย่างวัสดุทั้งสองด้านด้วย Grip ที่เหมาะสม จากนั้นด้านหนึ่งจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ออกไปในอัตราคงที่ เพื่อสร้างแรงดึงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวเครื่องจะวัดค่าความต้านทานแรงดึงของวัสดุ (Tensile Strength) และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของตัวอย่าง (Strain) จนกระทั่งตัวอย่างขาดออกจากกัน ผลการทดสอบจะให้ข้อมูล คือ ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) และค่าความยืดหยุ่นของวัสดุ (Young’s Modulus) ซึ่งวัดจากช่วงที่วัตถุยังคงพฤติกรรมยืดหยุ่นเชิงเส้น (Elastic Region)

ผลลัพธ์การทดสอบจะมีการแสดงกราฟ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น (Stress) และความเครียด (Strain) ของวัตถุชิ้นนั้น

การนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมอาหาร

ทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพอาหาร พร้อมวันหมดอายุเป็นข้อมูลนำไปใส่ในฉลากข้างผลิตภัณฑ์ และวิเคราะห์เนื้อสัมผัส ความรู้สึกต่ออาหารในขณะเคี้ยวหรือกัด เพื่อสามารถช่วยในการพัฒนาสูตรอาหารให้ดีได้ยิ่งขึ้นกว่าเดิม

การทดสอบแรงดึง Tensile testing ยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์

เพื่อใช้ประเมินความทนทานชิ้นส่วนรถยนต์ เนื่องจากเครื่องยนต์ต้องทนกับอุณหภูมิและแรงดันที่สูง การทดสอบแรงดึงจะเป็นการยืนยันว่าวัสดุที่ใช้ประกอบรถยนต์นั้นมีคุณสมบัติที่ทนทานและรับมือต่อการเสื่อมสภาพ

การทดสอบแรงดึง Tensile testing การก่อสร้าง

อุตสาหกรรมก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้างจำเป็นต้องตรวจสอบและผ่านมาตรฐานทุกชิ้น เครื่องทดสอบแรงดึงช่วยกำหนดคุณสมบัติของวัสดุ เช่น ความแข็งแรงยืดหยุ่นและความแข็งแรงดึงสูงสุด เพื่อให้มั่นใจถึงความสมบูรณ์ของโครงสร้างตลอดอายุการใช้งานของอาคารหรือโครงการโครงสร้างพื้นฐาน

Picture of Thaksina Suksai (Bestie)

Thaksina Suksai (Bestie)

Digital marketing intern of IKKI Thailand
รากฐาน คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการนำไปต่อยอดในเรื่องต่างๆ เพราะมันทำให้เราเข้าใจกระบวนการทำงานได้หลากหลายอย่างวงกว้าง เข้าใจความเป็นธรรมชาติ จนเกิดการคิดวิเคราะห์ตกผลึกเป็นไอเดียสำคัญที่สามารถช่วยเหลือผู้คนในโลกใบนี้ได้มากมายอย่างแท้จริง