บอร์เกจ (Bore Gauge) เครื่องมือที่เราใช้ในการวัดตรวจสอบ รูในของชิ้นงานของเรา เพื่อทราบถึงเกณฑ์กาผ่าน OK NG หรือบางรุ่นที่มีความเหมาะสมกับการวัดมากกว่าปกติ
บอร์เกจ คือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดรูใน หรืออีกชื่อของรูใน อย่าง ID (Inner Diameter) หรือ BD (Bore Diameter) ล้วนมีความหมายที่หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน และ บอร์เกจจะถูกใช้งานในการวัด ตรวจสอบรูใน และบอร์เกจสามารถใช้วัดรูใน ได้ทั้งในห้อง QC เอง หรือแม้แต่ ในไลน์การผลิตเอง ด้วยคุณสมบัติที่ใช้แรงดันในการวัดตรวจสอบ ทำให้มีความสเถียรมาก ถึงแม้จะใช้ในพื้นที่ควบคุม หรือ พื้นที่ไม่มีการควบคุม
สามารถใช้บอร์เกจในการวัดงาน รูในทุกรูปแบบ ที่มีขนาดตามที่ บอร์เกจรองรับได้ เช่น บอร์เกจ DIATEST ของเรา ที่ขนาดเริ่มต้นตั้งแต่ Ø 0.47mm – 41.1mm และประเภทต่างๆ ที่ใช้วัดรูในได้ทั้ง ลูกปืน, วาล์ว, ลูกสูบ และอีกมากมาย ที่ใช้ได้ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม การผลิตต่างๆ ที่ต้องมีการวัด ตรวจสอบรูใน
โดย Bore Gauge ที่เราจะใช้ในการอ้างอิง คือบอร์เกจ ที่ใช้หัววัดเป็น Split Ball แต่ทุกๆหัววัด จะใช้หลักการของแรงดันเหมือนกัน แต่ที่เรายกตัวอย่างของ Bore Gauge Split ball ออกมา เพราะประเภทนี้ สามาถใช้ได้ตั้งแต่ขนาดไดมิเตอร์ 0.47mm
โดยหลักการทำงานของ Bore Gauge คือการที่เมื่อนำส่วนโพรบเข้าไปในรูใน จะเกิดการบีบเข้ามา (หากเป็นประเภทปกติ จะมีส่วนของ ลูกบอลที่กดเข้าไปเพื่อเพิ่มแรงดัน) และเมื่อมีการกด บีบเข้า และเกิดแรงดันที่จะถูกส่งต่อ สู่ตัววัด Indicator และแสดงค่าออกมา
Bore Diameter หรือค่า BD ไม่ได้มีความแตกต่างกับ ค่า ID Inner Diameter เพราะทั้งสองมีความหมาย เดียวกัน นั้นก็คือ เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน แต่การใช้ และการไปอยู่ในค่านี้มีความแตกต่างกัน แต่ก็ไม่ได้นับว่าเป็นสิ่งที่ผิด หากมีการใช้สลับกัน แต่เราก็ควรเข้าใจทั้งสองค่านี้
Bore Diameter มักจะพบเจอค่านี้ใน ส่วนของ กระบอกลูกสูบ หรือ ลูกปืนต่างๆ หรือใช้ในการจำกัดความของ ไดมิเตอร์ท่อ
Bore Diameter ยังใช้ในการแยกส่วนกันระหว่าง วัตถุที่มีลักษณะของเฟืองภายใน โดยส่วนที่ลึกที่สุดคือ Groove Diameter และ ตรง Pitch จะเรียกเป็น Bore Diameter
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวเองผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า