โดยทั้งสองมาตรฐาน JIS และ ISO กับ เกจวัดเกลียว มีข้อแตกต่างกันหลักๆ อยู่ที่เลขกำกับบนตัว เกจวัดเกลียว (Thread Plug Gauge) เอง ซึ่งตัวเลขค่ากำกับเหล่านี้ อาจทำให้สับสนได้เช่นกัน (JIS ISO มีการใช้ เกจวัด ที่ต่างกันในบางกรณี)
JIS ด้าน GO จะใช้อักษร กำกับเป็น GP (Go Plug) และด้าน NOGO จะกำกับด้วย ตัวอักษร IP (Inspection Plug) หรือ ด้าน NOGO สำหรับใช้หน้าไลน์ผลิตจะเป็นตักอักษร WP (Working Plug)
ISO ด้าน GO จะใช้ตัวอักษร GP (Go Plug) และด้าน NOGO จะกำกับด้วย ตัวอักษร NP (No go Plug)
Class ความแม่นยำของ เกจวัดเกลียว (Thread Plug Gauge)
** Class ของเกจวัด หรือค่า Tolerance ที่ต่างกันออกไป Class 1 มีค่า Tolerance ที่น้อย ไล่ไปถึงมาก
JIS | ISO | Class |
---|---|---|
III | 7H | 3 |
II | 6H | 2 |
I | 4H | 1 |
**เกจวัดเกลียวเมตริก องศาของ Pitch 60°
ระบบ JIS : ตัวเลขตัวอย่าง ของเกจวัดเกลียว JIS – M6 P1.0 GPIP II
ตัวเลข 4 ชุดประกอบด้วย
M6 – ประเภทของเกลียว เมตริก โดยจะอ้างอิงตามมาตรฐาน เมตริกของเกลียว (Screw Metric) M6 = เกลียววัด ไดมิเตอร์ 6mm
P1.0 – ระยะห่างของเกลียว หรือค่าพิทช์ (Thread Pitch) = 1mm
GPIP – ตัวอักษร บอกตำแหน่งด้าน GO NOGO
II – ระดับ Class ของเกจวัด โดย Class 2 คือเกลียวที่ค่อนข้างพอดี ไม่แน่นไม่หลวม
ระบบ ISO : ตัวเลขตัวอย่าง ของเกจวัดเกลียว ISO – M6 x 1.0 – 6H GPNP
ตัวเลข 4 ชุดประกอบด้วย
M6 – ประเภทของเกลียว เมตริก โดยจะอ้างอิงตามมาตรฐาน เมตริกของเกลียว (Screw Metric) M6 = เกลียววัด ไดมิเตอร์ 6mm
1.0 – ระยะห่างของเกลียว หรือค่าพิทช์ (Thread Pitch) = 1mm
6H – ระดับ Class ของเกจวัด โดย Class 6H คือเกลียวที่ค่อนข้างพอดี ไม่แน่นไม่หลวม
GPNP – ตัวอักษร บอกตำแหน่งด้าน GO NOGO
**เกจวัดเกลียวนิ้ว องศาของ Pitch 60°
ตัวเลขตัวอย่าง ของเกจ วัดเกลียวนิ้ว (หุน) – ⅜ 16UNC GPIP 2B
ตัวเลข 4 ชุดประกอบด้วย
3/8 – ไดมิเตอร์ของเกลียวนิ้ว ด้วยการตั้งนิ้ว แบ่งเป็น 8 ส่วน หรือที่เรามักเรียนว่าหุน โดยเกลียวนี้ ไดมิเตอร์เท่ากับ ⅜ นิ้ว (9.5250mm)
16UNC – จำนวนของเกลียวในระยะ 1 นิ้ว หรือก็คือ ในระยะ 1 นิ้ว มีอยู่ 16 เกลียว
GPIP – ตัวอักษร บอกตำแหน่งด้าน GO NOGO
2B – คือระดับ Class ของเกจวัดเกลียวนิ้ว
**เกจวัดเกลียวตรง องศาของ Pitch 55°
ระบบ JIS : ตัวเลขตัวอย่าง ของเกจวัดเกลียวตรง – PF3/4 14 GPIP A
ตัวเลข 4 ชุดประกอบด้วย
PF3/4 – ไดมิเตอร์ของเกลียวตรงด้วยระยะ ¾ นิ้ว
14 – จำนวนของเกลียวในระยะ 1 นิ้ว หรือก็คือ ในระยะ 1 นิ้ว มีอยู่ 14 เกลียว
GPIP – ตัวอักษร บอกตำแหน่งด้าน GO NOGO
A – คือระดับ Class ของเกจวัดเกลียวตรง
ระบบ ISO : ตัวเลขตัวอย่าง ของเกจวัดเกลียวตรง – G3/4 14 GPNP
ตัวเลข 3 ชุดประกอบด้วย
G3/4 – ไดมิเตอร์ของเกลียวตรงด้วยระยะ ¾ นิ้ว
14 – จำนวนของเกลียวในระยะ 1 นิ้ว หรือก็คือ ในระยะ 1 นิ้ว มีอยู่ 14 เกลียว
GPNP – ตัวอักษร บอกตำแหน่งด้าน GO NOGO
*เกจวัดเกลียวสโลป องศาของ Pitch 55°
** การสโลปของ Taper จำเป็นต้องดูเอกสารอ้างอิง เช่น ค่า Taper 1:16 หรือองศาการเอียง 3.5798
ระบบ JIS : ตัวเลขตัวอย่าง ของเกจวัดเกลียวสโลป – PT3/4 14 P
ตัวเลข 3 ชุดประกอบด้วย
PT3/4 – ไดมิเตอร์ของเกลียวสโลป ด้วยระยะ ¾ นิ้ว
14 – จำนวนของเกลียวในระยะ 1 นิ้ว หรือก็คือ ในระยะ 1 นิ้ว มีอยู่ 14 เกลียว
P – บอกถึงลักษณะของเกจนั้น P คือ Plug type
ระบบ ISO : ตัวเลขตัวอย่าง ของเกจวัดเกลียวสโลป – Rc1/2 14
ตัวเลข 2 ชุดประกอบด้วย
Rc1/2 – ไดมิเตอร์ของเกลียวตรงด้วยระยะ ¾ นิ้ว
14 – จำนวนของเกลียวในระยะ 1 นิ้ว หรือก็คือ ในระยะ 1 นิ้ว มีอยู่ 14 เกลียว
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า