หัวใจหลักของคุณภาพการผลิต Quality matter

Quality Matter
หัวใจหลักของคุณภาพ
การผลิต

การพัฒนา คุณภาพการผลิตในอุตสาหกรรม
คือการพัฒนาในทุกภาคส่วนอย่างสมดุล

สิ่งที่สำคัญของงานอุตสาหกรรม ไม่ใช่แค่ ความแม่นยำ, กำลังการผลิต, ระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ, อุปกรณ์เครื่องจักรราคาสูง หรือทรัพยากรมนุษย์จำนวนมาก

แต่ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมคือสิ่งที่หล่อหลอมเป็นคุณภาพการผลิต และและคำว่าคุณภาพจะไม่ถูกเติมเต็มหากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป

และนี้คือสิ่งที่เราเชื่อมั่นมาเสมอ เพราะ…ทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นในงานอุตสาหกรรม สร้างคำว่า “คุณภาพ” ออกมา

หัวใจหลักของคุณภาพ ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน :
ประสิทธิภาพการทำงาน (Workflow) และ ประสิทธิภาพการผลิต (Manufacturing)

โดยประสิทธิภาพของการทำงาน คือ

การทำงานที่ง่ายขึ้น ลดความซับซ้อน และลดข้อผิดพลาดเพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อน ทำงานได้ไวขึ้น พนักงานในทีมในโรงงาน มี Work life balance ที่ดีขึ้น และแน่นอนทั้งหมดนั้น นำไปสู่คุณภาพที่ดีขึ้น

Workflow ประสิทธิภาพการทำงาน จึงนับว่าเป็นโจทย์ที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ ดัังนั่นเราอาจจะเริ่มจากการวิเคราะห์ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงงาน และหากมีแนวโน้มโอนเอียง มาทาง Manpower หรือ บุคคลากร  เหตุผลอาจจะเป็นปัญหาจาก การไม่ได้ติดตามหรือพลาดการ เช็คผลของการผลิต  การพลาดเวลาสอบเทียบ ฯลฯ และปัญหาเหล่านี้จะนำมาซึ่ง คำที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยครั้ง นั้นก็คือ Software Solution ที่จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น

และนอกจาก Software Solution ที่เข้าไปแก้ปัญหาในส่วนของ Workflow การเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนของการทำงาน ก็ยังมีทั้ง การเทรนด์นิ่งพนักงาน การจัดสรรอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ให้การทำงานง่ายขึ้นและดีขึ้น หรือแม้แต่การเปลี่ยนกะ การจัดตารางการทำงานของแต่ละกะ ก็นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในอุตสาหกรรม เช่นเดียวกัน

ประสิทธิภาพในส่วนของการผลิต หากต้องพูดถึง เราอาจต้องเท้าความถึง 5M model และ 1M+1E model ซึ่งคือทฤษฎีการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งเราจะนำมาเป็นต้นแบบของวิธีคิด ให้การพูดถึงการพัฒนาต่างๆ การพูดถึงเรื่องคุณภาพ เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

5M โมเดล และการพัฒนาคุณภาพการผลิต

มุมมองของคุณภาพ ในรูปแบบ ของ 5M+1M+1E model

ที่เราต้องยกตัวอย่าง 5M+1M+1E model  ขึ้นมาเป็นหนึ่งในมุมมองของการพัฒนาคุณภาพในอุตสาหกรรม นั้นก็เพราะว่า ทฤษฎีนี้คือหนึ่งใน ทฤษฎีของการวิเคราะห์ปัญหา แต่หากเรามองมุมกลับของรูปแบบทฤษฎี เราจะมองเห็นในมุมมองการพัฒนา ของทุกๆส่วน ไปพร้อมๆกัน เพื่อสร้างความสมดุล (Equilibrium) ในการพัฒนาคุณภาพ

และจากมุมมองของทฤษฎี การที่เราพัฒนาทุกๆอย่างไปพร้อมๆกัน
คือสิ่งที่เราควรคำนึงถึงจากทฤษฎีข้างต้น นั้นก็คือ 5M model +1M+1E (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 5M) 

ซึ่ง 5M จะประกอบด้วย Method, Measurement, Manpower, Material และ Machine แต่สิ่งที่เราเพิ่มขึ้นมานั้นก็คือ 1M+1E นั้นก็คือ Management การจัดการ การบริหารต่างๆ ที่จะทำให้การพัฒนา เพิ่มคุณภาพในส่วนต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และคงไว้ซึ่งความสมดุลของการพัฒนา

และ 1E คือ Environment สภาพแวดล้อม ที่ไม่ว่าจะเป็น สภาพแวดล้อมตอนทำงาน สภาพแวดล้อมขององค์กร หรือสภาพแวดล้อมในสังคมที่เกิดขึ้นในโรงงาน ก็นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาเพิ่มคุณภาพเช่นเดียวกัน อย่างสภาวะแวดล้อมตอนปฏิบัติงาน หากมีความชื้นมาก หรืออุณหภูมิสูง ก็อาจเป็นตัวแปรของคุณภาพเช่นเดียวกัน หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อาจทำให้ Manpower หรือ บุคคลากร มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง

ตัวอย่างของการพัฒนาเพิ่มคุณภาพ โดยไม่มีความสมดุล

จากตัวอย่างที่เราเห็นถึงการพัฒนาที่ดีขึ้นเป็นอย่างมากของ Machine (เครื่องจักร หรือ อุปกรณ์) Material (วัสดุ) และ Measurement (การวัดและตรวจสอบ) แต่ Method (วิธีการทำงาน) และ Manpower (บุคคลากร) ไม่ได้มีการพัฒนาหรือเพิ่มขึ้นเท่าที่ควร 

ผลลัพท์ของความไม่มีสมดุลนั้นก็คือ อุปกรณ์ราคาแพง วัสดุคุณภาพ ที่สามารถ วัดชิ้นงานได้ละเอียด แต่บุคคลากรกลับใช้ไม่ได้ หรือ วิธีการใช้แตกต่างจากที่ควรจะเป็น นั้นส่งผลให้คุณภาพของการผลิต กลับไม่เพิ่มขึ้น และอาจลดลงแทน

การให้ความสำคัญของการเพิ่มคุณภาพการผลิต

แน่นอนว่าการให้ความสำคัญ เราไม่สามารถกำหนดให้ค่าใด ค่านึงมากกว่ากัน เพราะการพัฒนาไปพร้อมๆกัน คือการเติบโต ที่มีความสเถียรภาพมากที่สุด

การพัฒนาที่ไม่มีความสมดุล ใน Quality matter การเพิ่มคุณภาพ

หัวใจหลักของการเพิ่ม คุณภาพ คือความสมดุลของการพัฒนา