ข้อแตกต่างของ Roundness และ Runout : ความจำเป็นของสองค่า ความกลม และ ความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุน

ข้อแตกต่างของ Roundness และ Runout

Roundness และ Runout มีข้อแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดที่สุด และเป็นจุดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยข้อแตกต่างนี้ทำให้ทั้งสองค่านี้บอกเราถึง

คุณสมบัติของวัตถุนั้นเช่นเดียวกัน และทั้งค่า Roundness หรือ ค่า Runout ก็จะมีการเหมาะสมของงานประเภทที่แตกต่างเช่นเดียวกันด้วย

Roundness (ความกลม) คืออะไร

ความกลมหรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Circularity หรือ Roundness โดยค่าของความกลมจะเกิดขึ้นจากการวัด ค่า Roundness เพื่อดูว่าชิ้นงานมีความกลมมากน้อยแค่ไหน หรือมีฟอร์มของวงกลมที่ผิดแปลกไป (โดยปกติชิ้นงานที่เราอาจมองว่ามันกลม จริงๆแล้วมันอาจจะมีความกลมที่น้อยลง อาจจะเป็นรูปทรงที่มีความหยัก หรือผิดเพี้ยนไป)
*ค่าความกลมจะไม่เหมือนกับค่าของเส้นรอบวง เพราะการหาค่า Roundness คือการหาค่าความกลมของชิ้นงาน ค่าเส้นรอบวง หรือค่า Diameter มาจากการกำหนดจุดกึ่งกลาง วัดรัศมีและทำการคำนวนต่อไป

การกำหนดค่าต่างๆของ Roundness

จะมีการกำหนดโซนขึ้นมา ด้วยเทคนิคอย่าง Minimum Zone Method ที่จะทำการจุดและกำหนดวงภายในชิ้นงาน และ วงภายนอกของชิ้นงาน และแทนค่าตรงส่วนของวงสองวงนั้นด้วย t หรือ Tolerance และหลังจากนั้น ก็จะถูกกำหนดออกมาเป็นตัวเลขของ Roundness ออกมา ที่จะไปอยู่ในแบบ Drawing ชิ้นงานต่างๆที่เราเห็นๆกันบ่อยครั้ง

การวัดค่า Roundness
การวัดค่า Roundness
ค่าความกลม Roundness ในแบบ Drawing
ค่าความกลม Roundness ในแบบ Drawing

ทำไมเราถึงต้องหาค่า Roundness

ถ้าพูดกันให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด ค่าความกลม Roundness ทำให้ชิ้นงานสองชิ้นสามารถสวมเข้าหากันได้ คล้ายๆกับ Plug gauge หรือ Plug ring gauge ที่ใช้การสวมเกจวัดหรือสวมชิ้นงานเข้าไปด้านใน ซึ่งค่า Roundness จะทำให้เป็น Standard มาตรฐาน และสามารถใช้งานได้ปกติ ในกรณีที่ Tolerance ต่ำมากๆ (ทั้งนี้ Plug gauge ของเรา กระบวนการผลิตไม่ได้มีแค่การวัด Roundness แต่ก็ยังมีการวัด Roughness Smoothness ควบคู่ไปด้วยตาม Class ต่างๆ)

ค่าความกลม จุดแตกต่างของ Roundness และการหมุน

ข้อแตกต่างของ Roundness และ Runout

Roundness - ชิ้นงานที่ใช้แต่ Tolerance ของชิ้นงาน

ด้วยเพียงแค่ความกลมของชิ้นงาน ทำให้เมื่อชิ้นงานหมุนจะหมุนด้วยความกลมของมันเอง ซึ่งหากเราเปรียบเทียบก็จะทำให้ชิ้นงานเคลื่อนที่ไม่ตรงและเคลื่อนที่ขึ้นลงไปตาม ความผิดรูปของความกลมชิ้นงาน

Roundness ความจำเป็นของค่า ความกลม

ความจำเป็นของ Roundness

การวัดค่าความกลม Roundness จะจำเป็นเป็นอย่าง เมื่อชิ้นงานของเราจะต้องถูกสวมเข้าไป หรือเป็นลักษณะ Ring ที่ใช้รองรับการประกอบชิ้นงานต่างๆ หรือที่เราพบเห็นกันก็อย่างเช่น Plug gauge หรือ ring plug gauge และยังมีอีกมากมายที่ทำงานด้วยการใช้ Roundness เช่น Piston กระบอกสูบ โช๊คอัพ กระบอกสูบต่างๆ

ทั้งนี้ Roundness ก็จะต้องมีการวัดหาค่าความหยาบ Roughness เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจหาถึงความฝืดจากพื้นผิวเช่นเดียวกัน

Runout (ความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุน) คืออะไร

การเบี่ยงเบนเนื่อจากการหมุน ความหมายที่อาจจะดูซับซ้อนแต่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับ Roundness ด้วยความที่ Runout คือค่าที่ได้จากการหมุนของชิ้นงาน ด้วยการกำหนดจุดยึดชิ้นงาน หรือแกนที่ยื่นออกมา (Datum) ด้วยการหมุนของชิ้นงานก็จะทำให้เกิด วงกลมโดยไม่มีส่วนใดเกินจากเส้นวงกลมที่ถูกกำหนดไว้

การกำหนดค่าต่างๆของ Runout

โดยขั้นตอนแรกจะมีการกำหนัดโซนขึ้นมา ด้วยหลักการอย่าง Minimum Circumcircle ที่จะกำหนดโซนจาก จุดหมุน Axis ด้วยการหาจุดของจุดหมุน Datum ของชิ้นงาน และวงนอกจากจุดที่ไกลที่สุดของชิ้นงาน ภาพที่เกิดขึ้นนั้นก็คือ และ

การวัดหาค่า Runout ที่นอกจากเครื่องวัดที่แม่นยำละเอียดอย่าง RONDCOM : Datum ทั้งสองจะถูกติดตั้งเพื่อทำการหมุน และนำ Dial Gauge มาวัดค่า Runout ได้เหมือนกันในบางกรณีที่ต้องการเช็คเบื้องต้นถึงค่าความกลม และจะมีการตรวจสอบองศาการใช้งานที่เราจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง เพื่อเลี่ยงการเกิด Cosine effect

เมื่อชิ้นงานหมุนจะไม่มีส่วนใดที่เกินออกจาก โซนวงกลมด้านนอกขึ้น และในแบบ Drawing ของ Runout ก็จะมีทั้งค่า Tolerance และ Datum กำหนดว่าจุดที่หมุน หมุนมาจากกี่แกน เพื่อบอกถึงชิ้นงานที่เมื่อมีการหมุนเกิดขึ้น

การวัดค่า Runout
การวัดค่า Runout
ค่าความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุน runout ในแบบดรออิ้ง
ค่าความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุน (Runout) ในแบบ Drawing

ทำไมเราต้องหาค่า Runout

ค่า Runout ถูกใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานที่ต้องมีการหมุนจากจุดยึดเช่น Shaft เพลาต่างๆ ที่ต้องมีการหมุนหากมีค่าที่ผิดพลาดซึ่งอาจส่งผลให้การหมุนติดขัดชนเข้ากับด้านใด ด้านนึง หรือก็ยังมีการใช้กับ ดอกสว่านเจาะต่างๆ เพื่อให้การเจาะมีขนาดที่กลมตามที่กำหนดไว้ของขนาดสว่าน

(ในบางกรณี สว่านบางประเภทที่ดอกสว่านสำหรับการต๊าป หรือใช้ในการเจาะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปทรงต่างๆ ก็จะต้องมีการหาค่า Runout เช่นเดียวกัน แต่ถ้ารูปเจาะสุดท้ายเป็นวงกลม ก็จำเป็นต้องมีการหาเช่นเดียวกัน เรียกกันว่า Spindle runout)  

ค่าความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุน Runout จุดแตกต่าง และการหมุน

ข้อแตกต่างของ Roundness และ Runout

Runout - การมีจุดหมุน Datum

Runout – การมีจุดหมุน Datum

Runout ความจำเป็นของค่า ความเบี่ยงเบนเนื่องจากแกนหมุน

ความจำเป็นของ Runout

การหาค่า Runout ให้กับชิ้นงานที่ต้องมีการหมุนจากจุดหมุน Datum นับว่ามีความสำคัญมากกับการตั้งเพลา Shaft หรือแม้แต่การที่ชิ้นงานมีการหมุนในพื้นที่แคบ ที่ต้องมีการเผื่อระยะของการหมุนด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้ชิ้นงานหมุนกระแทก หรือติดขัดได้

และ Runout ยังเป็นการหาจุดกึ่งกลางของการหมุนที่เรามักจะได้ยินกับคำว่าตั้งศูนย์ให้ตรง เพื่อให้ไม่เกิดการเบี้ยวได้ และยังมีการวัดหาความร่วมศูนย์ด้วยเช่นเดียวกัน

เครื่องวัดที่จะวัดหาทั้ง Roundness และ Runout เครื่องที่จะช่วยให้เราวัดค่าความกลมได้ไร้ซึ่งปัญหาและ RONDCOM ที่จะมาทั้ง 3-in-1 เครื่องที่นอกจากจะวัดหา Roundness ได้ และยังสามารถวัดหา Roughness ด้วย เครื่องเดียวที่จะประหยัดเวลาในการวัด และการทำการวิเคราะห์ค่าความกลม และ อื่นๆอีกมากมาย ด้วยตัวช่วยเหลือที่การหา Datum จะ Rotary stage (ฐานหมุน) ที่ขยับได้ทั้ง Z-axis และ X-Y axis

Picture of Koffaree S.

Koffaree S.

Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม

ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า