ในการสอบกลับ จุดเริ่มต้น จะเริ่มจากชิ้นงานที่ถูกผลิตออกมา ที่ถูกวัดและตรวจสอบด้วยเกจแล้ว ด้วยการอ้างอิงจากค่า Reference Value Standard และตามมาตรฐาน SI Unit และการสอบเทียบ คือจาก มาตรฐานของมาตรฐาน ที่ใช้วัดและตรวจสอบเกิดเป็น วัฏจักรของการตรวจสอบ
Traceability หรือการสอบกลับ คือการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงต้นทาง ของการสอบเทียบ เป็นลำดับขึ้นไป ตาม Standard มาตรฐานสากล
หากเราต้องยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น คงประมาณว่า การสอบกลับ คือการที่ เรา กินกาแฟกระป๋องในร้านสะดวกซื้อ และ ย้อนกลับไป ที่ผู้ส่ง ไปที่ผู้ผลิต ไปถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ไปถึงกระบวนการปลูกต้นกาแฟ
ซึ่งในเชิงของเครื่องมือวัดก็ คือ ชิ้นงานที่ผลิต ถูกวัดด้วยเครื่องมืออะไร >> ใช้อะไรเป็นการวัด >> มีการสอบเทียบครั้งสุดท้ายจากแลป เมื่อไร >> แล้ว แลปที่เราสอบเทียบมี การตรวจสอบคุณภาพจาก สถาบันแห่งชาติเมื่อไร >> และย้อนกลับไปถึง International Standard ด้วยมาตรฐาน SI unit
ทั้งสองแตกต่าง ตรงที่ การสอบเทียบ คือการตรวจสอบคุณภาพของอุปกรณ์ เครื่องมือ (Equipment) หรือเกจวัด, เกจบล็อค, ปลั๊กเกจ (Working standard) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ควรจะเป็น และการสอบกลับ คือการที่เราสามารถ ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงต้นทางได้ ให้ความมั่นใจในผลลัพท์ของการวัดของเรา ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และมีการคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
หรือก็คือ เหมือนการเอารถไปตรวจสภาพในศูนย์ เมื่อครบกำหนด (การสอบเทียบ) แต่เรายังสามารถ ทราบเพิ่มเติมได้ถึง อะไหล่ที่ต้องซ่อม การตรวจสภาพ ลึกลงไปอีก ว่าการตรวจสภาพได้มาตรฐานไหม (การสอบกลับ)
การสอบกลับ คือไล่เป็นขั้นบันได จากจุดเริ่มต้นถึงจุดบนสุด หรือเราสามารถเรียกได้ว่า “การสอบเทียบ ของการสอบเทียบ ของการสอบเทียบ และของการสอบเทียบ”
เพื่อการยืนยันถึงมาตรฐานคุณภาพของอุปกรณ์การวัดของเราให้มีคุณภาพสูงมากขึ้น เช่นการวัดที่ผลลัพท์ คือ 1.2mm คือค่าที่ควรจะเป็น แต่เราวัดได้เท่ากัน แต่เราไม่ได้มีการสอบเทียบ ซึ่ง 1.2mm ของเราอาจคลาดเคลื่อนได้มากถึง 0.3mm
เริ่มต้นจากในส่วนแรกคือจากผู้ใช้ เครื่องมือวัด เครื่องมือตรวจสอบ และเครื่องทดสอบ ที่ได้ถูกนำไป สอบเทียบ หรือการตั้งศูนย์ต่างๆ
ส่วนที่สอง In-House calibration คือการสอบเทียบ ในโรงงานตัวเอง ไม่ว่าจะเพื่อกำหนดค่าศูนย์ การตรวจสอบของชิ้นงาน การตั้งจุดเริ่มต้นที่ค่าศูนย์ของเครื่องมือต่างๆ ที่เรามักจะพบเห็นได้ในวัสดุ ประเภท เกจวัด Standard scale, Optical Flat หรือ Parallel, Laser Length หรือ เครื่องตรวจสอบต่างๆ
ส่วนนี้คือตามตัวของมันเลย นั้นก็คือ แลปสอบเทียบ ที่ได้รับมาตรฐาน และได้เอกสารรับรองมายืนยันเช่นเดียวกัน
ซึ่งศูนย์สถาบัน มาตรวิทยาระดับชาติ ที่ประเทศไทย เราจะรู้จักกันดีในชื่อของ NIMT National Institute of Metrology (Thailand) ถ้าพูดกันภาษาบ้านๆ คือ แลปที่อยู่เหนือกว่าแปลทั่วไป
การสอบกลับในส่วนนี้ คือ สถาบันระดับโลก หรือในชื่อของ BIPM ที่ถือเป็นมาตรฐานระดับโลก ที่เรียกได้ว่าเป็น สหภัณฑ์มาตรวิทยา 64 ประเทศ และ 36 รัฐ
มาตรฐาน Unit Metric ของการวัด
จากตาราง Traceability Chart เราจะเห็นได้ว่า การสอบกลับคือการสอบกลับขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงชั้นบนสุด และการสอบเทียบ คือจากบนสุดลงมาด้านล่าง สู่การสอบเทียบเครื่องมือ เราอาจจะเรียกว่า มันคือโซ่ Chains วัฏจักรของการสอบเทียบ สอบกลับ มาตรวิทยาเลยก็ว่าได้
หลายๆครั้งที่เราอาจพบข้อผิดในชิ้นงานของเรา และหากเทียบกับ MSA เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา ในการวัด เราก็อาจจะต้องกลับไปจุดเริ่มต้นของคำถามที่ว่า ชิ้นงานมีปัญหา แล้วการวัดเราละมีปัญหาไหม เครื่องมือสอบเทียบเมื่อไร แลปที่เราสอบเทียบด้วย ทุกอย่างโอเคไหม ถ้าไม่แล้ว ระดับชาติละ National Metrology Institute
ปล. การสอบกลับ ยังมีประโยชน์อีกตรงที่ว่า หากเราผลิตชิ้นงาน ชนิดนึงให้ลูกค้า แล้วลูกค้าถาม สอบเทียบจิรงไหม เราก็จะต้องโชว์เอกสารการสอบเทียบให้เขา หรือเรียกว่า การสอบกลับนั้นเอง
และนอกจาก ที่เราได้เห็นกันแล้วว่า การสอบกลับมีประโยชน์แค่ไหน การจัดเก็บเอกสารการสอบเทียบ เอกสารการสอบกลับ นับว่าเอกสารเรากองเป็นภูเขา
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวเองผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า