เทคนิคการใช้ และการให้แสงของกล้องไมโครสโคป

เทคนิคและหลักการ ในการใช้และให้แสง ของกล้องไมโครสโคป

สำคัญแค่ไหนกับการให้แสง ทิศทางของแสง และการใช้แผ่นกรองแสง (Polarized Filter)

Lighting หรือ การให้แสง สำหรับการใช้งานของกล้องไมโครสโคป นับว่าเป็นส่วนสำคัญ ถึงขั้นเรียกได้ว่าเป็นตัวแปร จุดเปลี่ยนผลลัพท์ เลยก็ว่าได้ อย่างเช่น เงาสะท้อนของไฟที่เกิดบนชิ้นส่วนประเภทโลหะ หรือบางชิ้นงานที่ต้องมีการใส่แผ่นกรองแสง Filter ในการปรับ บีบคลื่นแสงให้แสดงผลลัพท์ที่ต้องการ  และอาจเป็นการให้ทิศทางแสงเพื่อให้เกิดภาพที่มืด (Transmitted Lighting) เพื่อการลดการสะท้อนแล้ว เห็นรอยส่วนเกินชัดขึ้น (คล้ายๆกับการถ่ายรูปด้วยมือถือ กดโฟกัสที่แสง และปรับให้มืดลง)

โดยรูปสาธิตการให้แสงต่างๆ (มาจากเลนส์ HR-1020 ใช้ร่วมกับ ดิจิตอลไมโครสโคป HRX-01)

การให้แสงแบบ Coaxial Lighting (ลดทอนแสง)

Coaxial Lighting คือการลดทอนค่าแสงลง โดยการปล่อยแสงจากตัวจ่ายแสงและสะท้อนหักเหลงชิ้นงาน และกล้องไมโครสโคป จะจับภาพของชิ้นงานที่ถูกลดแสงสะท้อนลง ผลลัพท์คือภาพถูกลดแสงสะท้อนลง

ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงาน

ชิ้นงานที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสง, Chipset หรือ ชิ้นงานตรงสอบที่ถูกบีบอัดหล่อขึ้นรูป (Cross-section samples)

การให้แสงแบบ Ring Lighting / Raking Lighting
(แสงจากด้านข้าง)

Ring lighting / Raking Lighting คือการ ให้แสงจากทิสทางรอบๆ ของกล้องไมโครสโคปสู่ตัวชิ้นงาน และ Ring lighting คือการติดตั้งไฟแหวนกลม และ Raking lighting คือการที่ขาไฟ สามารถปรับได้ ซึ่งสามารถปรับระดับขาไฟ ให้ลงเฉพาะจุดได้ โดยใจสำคัญหลักคือ ไฟจะต้องถูกส่งจากภายนอกลงไป บนตัวชิ้นงาน เพื่อความคมชัดในการตรวจสอบชิ้นงาน โดยสร้างพื้นที่ความมืดให้บางส่วนให้ภาพมีมิติมากขึ้น

ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงาน

ชิ้นงานที่มีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอ หรือไม่เรียบเสมอ Texture หรือความผิดปกติของพื้นผิว

การให้แสงแบบ Back Lighting / Transmitted Lighting
(แสงจากด้านล่าง)

Back Lighting / Transmitted Lighting คือการให้แสงจากด้านล่าง ซึ่งใครสายเล่นกล้อง หรือผ่านงาน ไมโครสโคปมาบ้างแล้ว จะเข้าใจว่าการให้แสงจากด้านล่าง คือการโฟกัสที่แสง จะทำให้พื้นผิวชิ้นงานมืดลง และตรวจสอบรู หรือช่องว่างที่แสงลอดออกมา ได้ชัดเจนมากขึ้น 

 

ปล. มีอีกเทคนิคนึงที่นิยมใช้กัน คือการให้แสงทั้งบนและล่าง เป็นการให้ภาพชัดทั้งสองส่วน แต่ตั้งค่อนข้างเสียเวลา

ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงาน

โดยปกติลักษณะการให้ไฟแบบนี้พบได้ในกล้องจุลทรรศน์ชีวภาพ แต่กับอุตสาหกรรม มักใช้กับ ชิ้นงานที่มีรู ช่องว่าง หรือรอยเจาะ เพื่อการตรวจสอบเฉพาะช่องว่าง

การให้แสงแบบ Diffused Lighting
(การให้แสงรอบทิศทาง)

Diffused Lighting คือการให้แสงรอบทิศทาง ซึ่งผลลัพท์ของมันก็คือ สร้างแสงที่มีความพอดีต่อชิ้นงาน ให้ภาพคมชัดมากขึ้น ซึ่งการให้แสงประเภทนี้ จะมีการให้แสงที่สม่ำเสมอกับชิ้นงาน ซึ่งจะช่วยในการ ลดการสะท้อนลงไปมาก

ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงาน

ชิ้นงานที่มีความเป็นพื้นผิวเหล็ก และ ชิ้นงานที่มีความเป็นสามมิติสูง (นับรวมทั้งชิ้นงานประกอบสำเร็จแล้ว)

การให้แสงแบบ Dome Lighting
(ให้แสงที่สมำเสมอ 360 องศา)

Dome Lighting คือการให้แสงที่สม่ำเสมอทั่วทุกทิศทาง 360 ซึ่งใกล้เคียงกับการให้แสงรอบทิศทาง แต่แตกต่างตรงที่ว่า ไฟจะมาฉายโดยรอบ รวมทั้งเหนือชิ้นงานด้วยเช่นเดียวกัน

ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงาน

ชิ้นงานที่มีความสะท้อนสูง หรืออย่างเช่น แบริ่งลูกปืน

การให้แสงแบบ Closed to lens ring Lighting
(การให้แสงจากด้านข้างใกล้กับเลนส์)

Direct Lighting คือการให้แสงแทบจะเป็นมาตรฐาน ของการใช้งานโดยปกติ คือการให้แสงจากตัวเลนส์เอง และจับภาพโดยตรง

ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงาน

ชิ้นงานมาตรฐานทั่วๆไป หรือการตรงสอบทั่วๆไป

การให้แสงผ่าน Polarized Lighting
(ให้แสงผ่านตัวกรองแสง)

Polarized Lighting คือการให้แสงโดยตรงผ่านตัวกรองแสง Polarized โดยตัวกรองจะทำหน้าที่ กรองสัญญาณคลื่นแสง (หากเรานับแสงเป็น Spectrum) โดยการลดทอนสัญญาณคลื่นแสง จะทำให้แสงมีความเหมาะสมต่อชิ้นงานมากขึ้น เมื่อเกิดการกระทบหรือสะท้อนออกมา

ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงาน

เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการนำแสงสะท้อนออก หรือวัตถุชีวภาพ วัตถุที่มีส่วนประกอบอื่นภายใน

*เสริม*
เลนส์ Telecentric หรือรูรับแสงน้อย

เลนส์ Telecentric ที่ใช้กับ ไมโครสโคป จะมีไว้เพื่อการตรวจสอบให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น ในองศาอื่นๆ หรือมีการขยับปรับเปลี่ยนค่างๆ ถ้าหากเทียบกับ หลักการของเลนส์กล้องถ่ายรูปปกติ คือ เลนส์ที่มีค่า F ที่สูง (Aperture ที่สูง) ซึ่งการตรวจสอบด้วยเลนส์ประเภทนี้จะทำให้ภาพโดยรวมมีความชัดมาก 

ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงาน

ชิ้นงานที่มีความสะท้อนสูง หรืออย่างเช่น แบริ่งลูกปืน

Lighting ระบบการให้ไฟ ก็นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนของการใช้กล้องไมโครสโคปอุตสาหกรรม เลยก็ว่าได้ และทั้งนี้ความเหมาะสมต่อประเภทชิ้นงานต่างๆ เป็นแค่คำแนะนำ เพราะการใช้งานสามารถประยุกต์ได้หลากหลาย และอาจได้ผลลัพท์ที่ดีขึ้นมาเช่นเดียวกัน

Picture of Koffaree S.

Koffaree S.

Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม

ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวเองผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า