กล้องไมโครสโคปถูกแบ่งประเภทออกไปตามการใช้งาน โดยเราจะแบ่งออกเป็นสามประเภทหลักๆ นั้นก็คือประเภทกล้องไมโครสโคป สำหรับการตรวจสอบ, การวัด และการวิเคราะห์ แต่เรารู้กันไหม ว่าจริงๆแล้ว กล้องไมโครสโคปสำหรับการวัด จะถูกแบ่งย่อยออกมาเป็นสองประเภทด้วยกัน
นั้นก็คือกล้องที่ถูกแบ่งจากวิธีหรือกระบวนการทำงานของการวัด
หากเราพูดถึงการวัดว่าการวัดคืออะไร การวัดก็คือการกำหนดจุดแรก และจุดที่สอง และหาระยะของทั้งสองจุด โดยระยะนั้นก็คือ การคำนวนการเคลื่อนที่ระหว่างจุดสองจุด โดยอ้างอิงจากบรรทัด สเกลที่กำหนดค่ามาแล้ว
และด้วยหลักการนี้ จึงทำให้กล้องไมโครสโคปสำหรับการวัดเกิดขึ้นมาได้ และอ้างอิงจากระยะเคลื่อนที่ของจุด 1 ไป จุดที่ 2 รวมทั้ง สเกลสำหรับการวัดขนาดอีกด้วย
โดยกล้องไมโครสโคปสำหรับการวัด ในตัวกล้องเองจะมี สเกลสำหรับการวัดมาในตัวเครื่องอยู่แล้ว ไม่ว่าจะผ่าน Eyepiece เลนส์ใกล้ตา หรือผ่านการต่อเข้า PC ก็จะมีสเกลการวัดมาให้ด้วยในตัว และสเกลนี้ก็จะทำหน้าที่เหมือนกับไม้บรรทัดที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน และสเกลนี้ก็ยังทำหน้าที่คล้ายกับอัตราส่วนอีกด้วย เช่นซูม 50x ระยะ 2 ขีดหรือเท่ากับ 0.02mm (จะเป็นไปตามสเกลในการวัด)
สำหรับกล้องไมโครสโคปสำหรับการวัด จะมีการใช้ Stage movement หรือก็คือการเคลื่อนที่ของฐาน โดยตัวกล้องจะมีการจัดการเคลื่อนที่ของฐาน เพื่อคำนวนระยะในการวัดเช่นเดียวกัน อย่างเช่น ขยับฐานไปแกน X 0.1mm ก็จะสามารถตีได้ว่า ระยะที่ขยับในทางของแกน X เท่ากับ 0.1mm
นั้นเลยเป็นเหตุผลว่า ทำไมกล้องไมโครสโคปสำหรับการวัด สามารถวัดได้อย่างแม่นยำจากการคำนวนหลายๆส่วนของตัวกล้องเอง
อีกประเภทนึงของกล้องไมโครสโคป ที่อาจทำให้เราสับสน นั้นก็คือกล้องไมโครสโคปที่สามารถวัดได้ เพราะข้อแตกต่างหลักๆของกล้องประเภทนี้ก็คือ กล้องนี้จะใช้ซอฟต์แวร์ในการวัดเป็นหลัก จากการตั้งค่ามาตรฐานผ่านสเกล หรือ Glass Scale ที่เรานำไปตรวจสอบก่อนการวัด
หรือเราก็อาจจะสามารถเรียกได้ว่าคือการทำ Zero Setting หรือสอบเทียบก่อนการวัด และการทำเช่นนี้ก็จะสามารถทำให้เราสามารถวัดชิ้นงานได้แม่นยำระดับนึง เพราะตัวกล้องและซอฟต์แวร์จะจดจำค่ามาตรฐานที่เราตั้งไว้ เช่นในการซูม 40x การวัดระยะจะประมาณเท่านี้
เริ่มจากการตั้งค่าการซูมที่เราสามารถมองเห็นตัวเลขได้ และทำการบันทึกค่าผ่านตัวซอฟต์แวร์เช่น ในกำลังขยายเท่านี้ ให้อ้างอิงจากค่าสเกลที่เราทำการบันทึกไว้
ลักษณะการทำงานจะมีความคล้ายคลึงกับอัตราส่วนที่ระบุในแผนที่ เช่น 1cm ของแผนที่นี้เท่า 100km ด้วยหลักการของอัตราส่วนจะทำให้เราสามารถวัดค่าของชิ้นงานที่เราต้องการจะทำการวัดได้
กล้องไมโครสโคป ทั้งสองประเภทต่างกันเพียงแค่ กล้องที่อ้างอิงจาก Mechanic กลไกของเครื่องเป็นหลัก
และ อีกประเภทกล้อง ก็จะอ้างอิงจากซอฟต์แวร์เป็นหลัก และอีกนึ่งข้อแตกต่างนั้นก็คือ ความแม่นยำในการวัด และอัตราในการวัดซ้ำ
กล้องทั้งสองประเภทมีจุดประสงค์ที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ความแม่นยำ ดังนั่นการเลือกใช้ก็ควรเลือกจากการใช้งานเป็นหลักและความต้องการ เพราะหากเป็นกล้องที่เกิดมาเพื่อวัดโดยตรง ข้อเสียหลักๆเลยก็คือความยากในการใช้งาน และระยะเวลาที่ต้องใช้ในการวัดแต่ละครั้ง
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า