TPM (Total Productive Maintenance) : กุญแจสำคัญสู่คุณภาพด้านการผลิต

ในยุคที่อุตสาหกรรมได้ก้าวเข้ามาสู่ยุคดิจิทัล หรือที่เรียกว่า “Industry 4.0” คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และลดความสูญเสียที่ไม่จำเป็นลงไป ไม่ว่าจะเป็นทรัพยกรมนุษย์ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากบุคคลด้วยเทคโนโลยีต่างๆ จนกลายเป็นเรื่องที่โรงงานอุตสาหกรรมไม่อาจมองข้ามได้

หนึ่งในแนวคิดที่ได้รับความนิยม และ ถูกพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกระบวนการผลิต นั้นก็คือ TPM (Total Productive Maintenance) ซึ่ง TPM ไม่ได้เป็นเพียงแค่ แนวคิดที่เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร แต่ยังครอบคลุมถึงการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กรเพื่อผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จากแนวคิดสู่แนวทาง ในการบริหารการจัดการโรงงานอุตสาหกรรม

Total Productive Maintenance (TPM) : แนวคิดที่มากกว่าการบำรุงรักษาเครื่องจักร

TPM คือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดการเชิงรุกที่เน้นการสร้าง “ศูนย์ เสียหาย” (Zero Defects), “ศูนย์ อุบัติเหตุ” (Zero Accidents) และ “ศูนย์ หยุดชะงัก” (Zero Breakdowns) หากพูดถึงให้ง่ายที่สุดก็คือการทำงานที่ไม่มีข้อผิดพลาด ไม่มีอุบัติเหตุ และ ไม่มีการหยุดชะงักของไลน์ผลิต หรือในระบบการผลิตต่างๆ

แนวคิดนี้พัฒนาโดย Mr. Seiichi Nakajima NipponDenso บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในกลุ่ม Toyota ในปี 1971 และได้และได้รับการยอมรับในระดับสากล โดย TPM ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการดูแลเครื่องจักร แต่รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือในองค์กรด้วย

Rest In Peace and Thank you for TPM

ประวัติความเป็นมาของ TPM (Total Productive Maintenance)

TPM (Total Productive Maintenance) ถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเป็นผลมาจากความพยายามของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

ซึ่งอยู่ในช่วงของ การจัดตั้งมาตรฐาน JIS เช่นเดียวกัน และความสำเร็จของแนวคิด TPM ก็ได้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับสากล และได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) ที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพในสายการผลิต

ต้นกำเนิดจุดเริ่มต้น ของ TPM (Total Productive Maintenance)

  • จุดเริ่มต้นจาก Preventive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน)
    แนวคิดพื้นฐานของ TPM มีรากฐานจาก “Preventive Maintenance” ซึ่งเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1950 โดยมุ่งเน้นการดูแลรักษาเครื่องจักรล่วงหน้าเพื่อลดการเสียหายที่ไม่คาดคิด
  • การนำเข้ามาในญี่ปุ่น
    ญี่ปุ่นมีการเริ่มนำแนวคิด Preventive Maintenance มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต แต่พบว่าแนวทางนี้ยังไม่เพียงพอสำหรับการตอบสนองความต้องการของระบบการผลิตที่ต้องการความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
  • เริ่มมีการพัฒนาเป็น Total Productive Maintenance
    บริษัท Nippon Denso (ปัจจุบันคือ Denso Corporation) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในกลุ่ม Toyota ได้พัฒนาแนวคิด Preventive Maintenance ให้ก้าวหน้าและตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น เป็น TPM โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานในทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ
  • และจนคุณ Seiichi Nakajima ได้ถุกแต่งตั้งเป็น บิดาแห่ง TPM ผู้ริเริ่ม TPM จนถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย
  • ได้เป็นที่ยอมรับในระดับ สากล
    ในปี 1971 Japan Institute of Plant Maintenance (JIPM) ได้กำหนด TPM เป็นระบบที่มีกรอบแนวทางชัดเจน และส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกนำไปใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต

วัตถุประสงค์หลักของ TPM

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงที่สุด (Maximizing Equipment Effectiveness)

สร้างกระบวนการบำรุงรักษา ที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม (Involving All Employees)

ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและวัฒนธรรมองค์กร (Developing a Collaborative Culture)

เสาหลัก 8 ประการของ TPM (Total Productive Maintenance)

เสาหลักของ TPM (Total Productive Maintenance) เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านการผลิตและการบริหารจัดการที่ยั่งยืน โดยแต่ละเสาหลักถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม ต่อไปนี้คือรายละเอียดเชิงลึกของแต่ละเสาหลัก

เสาหลักทั้ง 8 ประการของ TPM คือกรอบแนวทางที่ครอบคลุมทุกมิติของการบริหารจัดการในโรงงานและองค์กร

เมื่อองค์กรนำไปใช้อย่างถูกต้อง จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความสูญเสีย และสร้างความยั่งยืนในระยะยาวได้อย่างชัดเจน

1. Autonomous Maintenance
(การบำรุงรักษาด้วยตนเอง)

เพิ่มบทบาทของพนักงานปฏิบัติการในการดูแลเครื่องจักรเพื่อป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้น เพื่อผลลัพธ์ในทางที่ เครื่องจักรมีความพร้อมใช้งานสูงขึ้น (Availability) และลดการหยุดชะงักที่เกิดจากปัญหาเล็กๆ น้อยๆ

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้าน Autonomous Maintenance

  • ให้พนักงานที่ใช้งานเครื่องจักรเป็นผู้รับผิดชอบการบำรุงรักษาเบื้องต้น เช่น การทำความสะอาด การหล่อลื่น และการขันน็อต
  • ฝึกอบรมพนักงานให้สามารถสังเกตและตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักรได้ด้วยตนเอง เช่น เสียงที่ผิดปกติหรืออุณหภูมิที่สูงเกินไป
  • ลดความพึ่งพาทีมซ่อมบำรุง และทำให้การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. Planned Maintenance
(การบำรุงรักษาเชิงวางแผน)

ลดความเสียหายที่ไม่คาดคิดและเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องจักร เพื่อผลลัพธ์ในทางการ ลดต้นทุนการซ่อมบำรุง และลดเวลาเครื่องจักรหยุดทำงาน (Downtime)

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้าน Planned Maintenance

  • จัดทำตารางการบำรุงรักษาล่วงหน้าตามข้อมูลที่เก็บรวบรวม เช่น การซ่อมบำรุงในช่วงเวลาที่เหมาะสม (Time-Based Maintenance) หรือการตรวจสอบตามสภาพ (Condition-Based Maintenance)
  • ใช้ข้อมูลจากประวัติการซ่อมแซมและการใช้งานเครื่องจักรเพื่อคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
  • ลดการพึ่งพาการซ่อมแซมฉุกเฉิน (Breakdown Maintenance) ซึ่งมักส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการผลิต

3. Quality Management
(การบำรุงรักษาคุณภาพ)

ป้องกันการผลิตสินค้าที่มีข้อบกพร่อง และสร้างกระบวนการที่มีคุณภาพสูง เพื่อผลลัพธ์ในทางที่ สินค้าที่ผลิตออกมาต้องมีคุณภาพดีขึ้น ลดการคืนสินค้าจากลูกค้า และเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้าน Quality Management

  • ใช้หลักการ “Zero Defects” เพื่อป้องกันปัญหาคุณภาพตั้งแต่ต้น โดยระบุและขจัดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดของเสีย (Defects)
  • วิเคราะห์ Root Cause Analysis (RCA) เพื่อหาเหตุผลที่แท้จริงของปัญหาคุณภาพ
  • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติ (Automatic Inspection) เพื่อช่วยระบุปัญหาก่อนที่จะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์

4. Focused Improvement
(การปรับปรุงเฉพาะจุด)

ขจัดปัญหาหลักและเพิ่มประสิทธิภาพในจุดที่มีผลกระทบสูงที่สุดต่อการผลิต เพื่อผลลัพธ์ในทาง กระบวนการผลิตมีความลื่นไหลมากขึ้น และต้นทุนการผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้าน Focus Improvement

  • ใช้แนวทาง Kaizen (การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง) เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะจุด เช่น การเพิ่มความเร็วของเครื่องจักรหรือการลดของเสียในกระบวนการผลิต
  • รวมทีมข้ามสายงาน (Cross-Functional Team) เพื่อระบุปัญหาและร่วมกันหาวิธีแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
  • วัดผลลัพธ์ด้วยตัวชี้วัด (KPIs) ที่ชัดเจน เช่น ลดระยะเวลาหยุดชะงัก ลดความเสียหาย หรือเพิ่มผลผลิต

5. Early Equipment Management
(การจัดการเครื่องจักรตั้งแต่เริ่มต้น)

ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการออกแบบหรือการติดตั้งเครื่องจักร เพื่อผลลัพธ์ในทางที่ เครื่องจักรใหม่มีความพร้อมใช้งานสูง และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้าน Early Equipment Management

  • ทำงานร่วมกับทีมออกแบบและจัดซื้อเครื่องจักรเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องจักรมีคุณภาพและเหมาะสมกับกระบวนการผลิต
  • วางแผนการติดตั้งและทดสอบเครื่องจักรอย่างรอบคอบ เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะเริ่มต้น
  • จัดทำคู่มือและแผนบำรุงรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน

6. Training and Education
(การฝึกอบรมและการศึกษา)

เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับพนักงานทุกระดับเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและความเชี่ยวชาญ เพื่อผลลัพธ์ในทางที่ พนักงานมีความสามารถในการจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้าน Training and Education

  • จัดทำโปรแกรมฝึกอบรมที่ครอบคลุมทั้งด้านเทคนิค (Technical Skills) และการจัดการ (Soft Skills)
  • สร้างระบบ “Train the Trainer” เพื่อให้พนักงานที่มีประสบการณ์ช่วยถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น
  • ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ เช่น E-Learning หรือ Simulation Training เพื่อให้การฝึกอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. Safety, Health, and Environment
(ความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม)

สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผลลัพธ์ในทางการ ลดอุบัติเหตุในที่ทำงาน และเพิ่มความพึงพอใจให้กับพนักงานและชุมชนรอบข้าง

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้าน Safety, Health and Environment

  • จัดทำมาตรฐานความปลอดภัยที่ชัดเจน เช่น การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน (PPE) และการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย
  • ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงในที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน เช่น การลดการใช้พลังงานหรือการจัดการของเสีย

8. Office TPM
(TPM ในสำนักงาน)

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในสำนักงานและกระบวนการสนับสนุน เพื่อผลลัพธ์ในทาง กระบวนการสำนักงานมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการผลิตได้ดีมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้าน Office TPM

  • ใช้แนวคิด Lean ในกระบวนการสำนักงาน เช่น การลดเวลาที่เสียไปกับงานเอกสาร การปรับปรุงการจัดการข้อมูล และการเพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ
  • สร้างระบบการทำงานที่โปร่งใสและลดความซ้ำซ้อนในกระบวนการ
  • ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี เช่น ERP (Enterprise Resource Planning) และระบบการจัดการข้อมูล

หนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการประเมินความสำเร็จของ TPM คือ OEE (Overall Equipment Effectiveness) หรือประสิทธิผลรวมของเครื่องจักร ซึ่งพิจารณาจาก:

  • Availability (ความพร้อมใช้งาน): อัตราการหยุดชะงัก
  • Performance (ประสิทธิภาพ): การใช้ศักยภาพเครื่องจักรอย่างเต็มที่
  • Quality (คุณภาพ): สัดส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีข้อบกพร่อง

นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถกำหนด KPIs (Key Performance Indicators) เช่น ระยะเวลาหยุดซ่อม (Downtime), ต้นทุนการซ่อมบำรุง และอัตราความเสียหาย เพื่อประเมินความคืบหน้าได้อย่างแม่นยำ

Fact-T : Troubleshooting ซอฟต์แวร์การจัดการแผนกซ่อมบำรุง

Fact-T : Troubleshooting เพราะ…ทุกๆครั้งที่เกิดปัญหา ขึ้นกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร การ Report ต่อแผนกซ่อมบำรุง อาจมีขั้นตอนที่ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ และแน่นอนที่ การรายงานเกิดความผิดพลาดอาจส่งผลตามมามากมาย อุปกรณ์เครื่องมือ ไม่ได้มาตราฐาน เครื่องจักรประสิทธิภาพต่ำลง กระบวนการผลิตเสียหาย จนอาจต้องหยุดการผลิต ซึ่งอาจจะถึงผลพวงของ การซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรใหม่ก่อนเวลาอันควร

Fact-T มาพร้อมกับการ Report รายงานปัญหาด้วย Issue Ticket ที่สามารถทำได้ทันที และส่งต่อสู่แผนกซ่อมบำรุง ผ่านได้ทุกอุปกรณ์ แท็บเล็ต, มือถือ, คอมพิวเตอร์

การจัดการ Report ของปัญหาทุกๆอย่างที่เกิดขึ้น ลำดับการซ่อมบำรุง ตาราง การติมตาม ฯลฯ รวมทั้งตารางของการตรวจสอบสภาพก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น

Solution Library หนทางแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องขุดขุ้ย กองเอกสาร เพราะศูนย์รวม การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือเกิดขึ้นแล้ว Solution จะเป็นทั้งการรวบรวมของ Manual ต่างๆของอุปกรณ์ไว้ทั้งหมดด้วยเช่นกัน

Spare parts managementสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในแผนกซ่อมบำรุง ด้วย Database ที่รวบรวมข้อมูลของ Part สำรองไว้ในระบบ พร้อมจัดการการดูแล เพื่อแจ้งเตือน หากกำหนดเปลี่ยน หรือ จำนวนที่น้อยหรือไม่เหลือแล้วใน Stock

ซอฟต์แวร์ แผนกซ่อมบำรุง รายงานปัญหาต่างๆ
Picture of Koffaree S.

Koffaree S.

Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม

ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า