** ก่อนอื่นต้องขอทักทาย ผู้มาเยือนทุกคน ที่อาจจะเข้ามาด้วยความตั้งใจหรือหลงเข้ามาโดยบังเอิญ และผมคือคนๆนึงที่ไม่ได้มีความรู้ในส่วนของวิศวกรรมเลยแม้แต่น้อย นั้นก็เพราะผมพึ่งจะก้าวเข้ามาในสายงานของอุตสาหกรรม 😀 (ปล. ผมไม่เคยเรียนวิศวะมาก่อนเลย)
ที่คุณกำลังอ่านอยู่ ก็คงเรียกได้ว่า สมุดจดสิ่งที่ผมเรียนมาวันนี้ (เหมือนตอนเรียนนั้นแหละ) เรามาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนะครับ แล้วผมผิดพลาดตรงไหน ลองมาแชร์กันนะครับ 🙂
เรื่องของเรื่องคือวันนี้ มันเริ่มมาจากคำถามง่ายๆที่ว่า อะไรคือค่าเฉลี่ย (ผลรวมทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนทั้งหมด) ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะรู้กันอยู่แล้วว่ามันคืออะไร….แต่….มันไม่ใช่แค่นั้นสำหรับวิศวะกรรม XD
เพราะสิ่งที่ผมพึ่งเรียนมา มันเหนือชั้นกว่านั้นเยอะ (ฟังดูน่ากลัวเนอะ แต่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ยิน :p) เพราะมันคือ SD หรือ Standard Deviation หรือ ค่าความเบี่ยงเบน
เริ่มแรกเลย คุณกับผมต้องทำความเข้าใจกันก่อนของ Standard Deviation (ค่าความเบี่ยงเบน) และ Mean (ค่าเฉลี่ย) ยกตัวอย่างกันง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณยิงไปที่เป้า ตรงจุดไหนคือค่าเฉลี่ยของรูบนเป้ายิง? และจากค่าเฉลี่ย เราจะหาค่าเบี่ยงเบนของแต่ละรูได้ยังไงจากค่าเฉลี่ย?
Standard Deviation หรือ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ถ้าเราจะพูดกันให้ง่ายที่สุด ก็คือการหาค่า ± ของค่าเฉลี่ยกลางของข้อมูล
ตัวอย่าง:
วัตถุ A = 10
วัตถุ B = 12
วัตถุ C = 14
ค่าเฉลี่ยจึงเท่ากับ (10+12+14)/3 = 12
และ Variance (ความแปรปรวนของข้อมูล) ก็จะหาได้จาก
ค่าความแปรปรวนของข้อมูล จึงคิดง่ายๆว่า
หลังจากแทนค่าไปแล้ว Variance จึงเท่ากับ 4
และจากค่าความแปรปรวน 4 เราก็ใส่ ราก Square root เข้าไป… Standard deviation จะ = 2
หรือจากสูตรอันนี้ นี้เอง
และปวดหัวเพิ่มได้เลยกับตัวอย่างกราฟ
มาถึงตอนนี้บางคนอาจจะเริ่มงงกันแล้ว ซึ่งผมเขียนเอง…ผมก็งงมากกกกกกกกก เหมือนกัน 5555 แต่หลังจากที่ผมและทุกคนพอจะเข้าใจในส่วนของ Standard Deviation แล้ว สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปก็คือ เราจะใช้ไอค่า Standard Deviation ยังไงเพื่อไปสู่ การใช้งานใน วิศวกรรม และ อุตสาหกรรมต่างๆ
ในระหว่างกระบวนการผลิตทั้งหลายมีการคำนวนต่างๆเกิดขึ้นเสมอตลอดเวลาก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนเดียว หรือ สินค้าชิ้นๆนึง ลองนึกกันเล่นๆว่า ถ้าคุณมี 100 ค่าตัวเลข ระหว่างการผลิต และไม่ได้เห็นเป็นภาพ Visual ออกมา ผมบอกได้เลยว่า ตาคุณอ่ะไฟลุกแน่นอน
งั้นเดี๋ยวผมจะลองสาธิตคร่าวๆ เหมือนอาจารย์เขียนบนกระดาน (เท่ไหมละ :p)
ค่าเฉลี่ยคือ 12 และ ± 2
แล้วสงสัยกันไหมว่าตัวเลขกับกราฟพวกนี้มาได้ยังไง ลองมาดูที่เป็นภาพอีกมุมนึง
จุดดำๆ ก็คือ ชิ้นส่วนหรือสินค้าที่ผลิต และได้รับการวัดต่างๆ ถ้าออกจากเส้น SD นั้นก็หมายความว่า สินค้าตัวนี้กำลังผลิต ออกจากคุณภาพที่กำหนดไว้มีอะไรผิดแน่ๆ
เอ๊ะ! คุณภาพบางชิ้นออกจากกราฟไปนะ
คุณภาพนี้อยู่ในการควบคุม รอดๆ!
หูยยย! คุณภาพการผลิตขั้นเทพ หรือมีใครไม่ยอมวัดจริงกันแน่
อย่างน้อยก็ไม่หลุดออกจากคุณภาพ หรือว่ามีคนไม่วัดเช็คกันนะ
แต่ที่เราได้เห็นตัวอย่างกราฟไป ผมคิดว่าคุณคงเข้าใจมากขึ้นแล้ว ของการตรวจสอบคุณภาพจากการดูกราฟ และในระหว่างการผลิต เหล่าเจ้าหน้าที่ ตรวจคุณภาพ ก็ยังสามารถบอกได้เบื้องต้นทันทีจากกราฟ ว่า การผลิตเป็นยังไง จากค่า SD เราก็บอกได้จากกราฟด้วยนะ ว่าค่า SD ที่มากขึ้นไป หมายถึงคุณภาพของสิ้นค้าที่ผลิตออกมา มีความคลาดเคลื่อน ค่าความเบี่ยงเบียนมากขึ้นไปเรื่อยๆ
ตอนนี้ตัวผมเองก็เข้าใจมากขึ้นแล้ว แล้วคุณละ และการทำงานให้มีประสิทธิภาพมาก ใน ซอฟต์แวร์ SPC อุตสาหกรรม ลองตามลิ้งนี้ไปกันเลย Software solution to SPC
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า