การทดสอบเกลียวในต่างๆ นับว่าเป็นเรื่องที่บางครั้งก็หาเทคนิค Method ต่างๆมาใช้ด้วยได้ยาก และมักจะต้องนำอุปกรณ์อื่นๆ มาพอให้ตรวจสอบได้ เพราะในหลายๆครั้ง เกจวัดเกลียว (Thread gauge) ก็ไม่สามารถ ตรวจสอบปัญหาทั้งหมดได้เหมือนกัน จนเป็น Defect ที่เรามองข้ามไปได้เหมือนกัน
ที่เรารวบรวมมามีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทหลักๆ นั้นก็คือ ประเภทของ เกจวัดเกลียว, การใช้กระแสไฟฟ้าไหลวน (Eddy current), การตรวจสอบด้วยการมองเห็น (Visual) และ การตรวจสอบด้วยรังสี X-ray (Radiography Testing)
เกจวัดเกลียวจำกัด หรือ Limit Thread gauge ที่เราสั่งทำเป็นขนาดพิเศษ สำหรับขนาดเกลียวนั้นๆ ด้วยการทำงานแค่เพียงไขเกจเข้าไป และทราบได้ทันทีถึง OK NG จากการเข้าไปได้หรือไม่ได้
แต่การใช้งานก็จะแลกมาด้วยกับ เวลาที่ใช้ในการไขเกจเข้าไป และนับว่าเป็น Consumable product ที่ใช้ตามอายุไข หรือผิดจากค่าเดิมก็จะซื้อชิ้นใหม่มาเปลี่ยน ซึ่งราคา ค่อนข้างถูก ที่อาจจะเริ่มต้นตั้งแต่ 3000 ตามขนาดที่ถูกสั่งทำมา
การทดสอบต่างๆด้วย Eddy current เรามักคุ้นเคยกับการ ทดสอบต่างๆบนพื้นผิวของชิ้นงานต่างๆ เพื่อหารอยแตกต่างๆ แต่ด้วยหลักการของ Eddy Current ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้ มาพัฒนาและต่อยอดด้วยกระแสไฟฟ้าไหลวน และ แม่เหล็กกระแสไฟฟ้า (Electromagnetism)
ทำให้เราสามารถ สวมโพรบเข้าไป ในเกลียวใน และสามารถ ตรวจสอบได้เกือบจะเป็นการทดสอบเกลียวภายใน ที่สมบูรณ์แบบ (เพราะความถี่ของคลื่นที่ไม่ได้สูงเกินจน ตรวจจับถึงขั้นรอยขีดข่วนได้ เพราะ MTD-100 ถูกพัฒนาให้เป็น Contactless) และข้อดีอีกอย่างของ Eddy current : MTD-100 คือ การทดสอบที่ไว และสามารถตรวจสอบเกลียวพร้อมกันได้หลาย Channel ช่องสัญญาณพร้อมกัน
กล้องไมโครสโคป ที่หลายๆคนเข้าใจ คือไมโครสโคป ที่ถูกใช้งานถ่ายภาพจากมุมบนเพียงอย่างเดียว แต่ด้วย Rotary head ที่ใช้คู่กับ HRX-01 : 3D ดิจิตอลไมโครสโคป ที่ใช้เทคนิคของการสะท้อนของภาพบนกระจก ทำให้ กล้องไมโครสโคป สามารถตรวจสอบเกลียวในได้ 360องศา
และแน่นอน ข้อจำกัดของมัน ก็คือ มุมองศาต่างๆ ที่ถ้าเกิดเกลียวในที่มีความลึก ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือบางมุมที่เราอาจพลาดไป จากมุมอับของมัน
กล้องงู ก็นับว่ามีการใช้งานที่ง่ายมากๆ เปิดเครื่อง สวมสายเคเบิ้ลเข้าในรูของเกลียวใน และตรวจสอบต่างๆได้ แต่ทั้งนี้ในเกลียวที่มีขนาดเล็กมากๆ ก็จำเป็นจะต้องใช้สายเคเบิ้ลและกล้องที่เล็กตามไปด้วยอย่างเช่น กล้องงู Fiber scope
และแน่นอน นั้นทำให้เกิดข้อจำกัด ของ FOV (Field Of view) และ DOF (Depth of view) ที่เราอาจพลาดมุมอับต่างๆ หรือ เลนส์ ที่ไม่สามารถเลือก Dual lens เพิ่มเติมได้ด้วย
เครื่องแสกนชิ้นงาน X-ray คือเครื่องที่ประสิทธิภาพสูงที่สุดของการตรวจสอบภายในต่างๆ ตัวเดียวจบ และได้การทดสอบที่สมบูรณ์แบบ
แต่แน่นอนก็จะต้องแลกมาก กลับกำลังไฟที่ต้องใช้ ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่อง การเตรียมความพร้อมต่างๆ พร้อมทั้งการตั้งเครื่อง และการเตรียมชิ้นงาน แท่นวาง สำหรับการนำไปตรวจสอบเกลียวใน
ผลลัพท์ที่ได้ คือภาพแสกนที่ครอบคลุมทั้ง รายละเอียด Dimension หรือแม้แต่ Auto-detect ปัญหาต่างๆ ครบจบในเครื่องเดียว
โดยแต่ละประเภทของปัญหาก็จะมีความเหมาะสมที่แตกต่างกัน หรือ
เกจวัดเกลียว ในบางกรณี ก็จะถูกมองข้ามปัญหานั้นไปเลย อย่างเช่น เกลียวที่หัก ได้พอดี ก็จะไขข้ามไปได้เลย
ความคุ้มค่าของแต่ละเครื่องมือ อาจจะใช้อ้างอิง 100% ไม่ได้
เพราะบางเครื่องมือ เราสามารถใช้ในทางอื่นๆได้ เพราะเครื่องมือเหล่านั้น จะถูกใช้ในการ ตรวจสอบ การวัด ของงานอื่นๆ ชิ้นงานประเภทอื่นได้ด้วย
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวเองผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า