ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นนำก่อนนะครับ Accuracy และ Precision นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญส่วนนึงที่ โรงงานการผลิต จะต้องคำนึงไว้เสมอ การผลิตชิ้นงานให้มีความแม่นยำที่สูง แต่ไม่สามารถผลิตซ้ำ ให้ได้คุณภาพ มาตรฐานเดิมได้ เราอาจจะต้องมานั่งมองการผลิตในโรงงานกันใหม่ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น การแก้ไขปัญหา เพราะการผลิตที่มีคุณภาพที่สุด คือการผลิตที่มีความแม่นยำ แต่ทำซ้ำได้ในมาตรฐานที่ดีที่สุด
ค่า Accuracy เราอาจจะได้เห็นกันมาแล้วไม่ว่าจะเป็นใน Specification sheet หรือใน แคตตาล็อคสินค้าต่างๆ ที่มักจะเป็นค่า ± ตามด้วยตัวเลข ค่าความคลาดเคลื่อนของความแม่นยำ เช่น การวัดระยะที่เราวัดได้ 5mm และสามารถคลาดเคลื่อนได้ที่ ± 0.5mm หรือ การวัด 5mm ที่เราเห็นค่านั้น ค่าที่ออกมาจะอยู่ในช่วงระยะของ 4.5mm – 5.5mm
ซึ่งค่าความแม่นยำ นับเป็นคุณสมบัติของตัวสินค้าเอง เครื่องมืดวัดต่างๆ สินค้าแต่ละสินค้า แบรนด์แต่ละแบรนด์ ที่อาจเป็นการใช้งานที่เหมือนกัน แต่ค่าความแม่นยำกลับต่างกัน
ทั้งนี้เลยกลายมาเป็น เรื่องของการตัดสินใจใช้อะไร ที่เหมาะสมกับการใช้งานมากกว่ากัน เพราะบางกรณีจะมีในเรื่องของ ส่วนนี้, ชิ้นส่วนนี้ ไม่ได้ต้องการความแม่นยำที่สูงมาก ใช้เครื่องมือธรรมดาได้ เพราะการใช้งานหรือ Operate เครื่องมือวัดต่างๆ จะต้องมีการคำนึงถึง Cost ด้วยเช่นกัน เช่น ระยะเวลา ค่าบำรุงรักษา การสอบเทียบ หรือทรัพยากรบุคคลากร
ซึ่งค่า Precision จะแตกต่างกับค่า Accuracy ที่ Accuracy คือค่าความแม่นยำ และ Precision คือการทำซ้ำ และได้ในระยะที่เท่าเดิมหรือใกล้เดิม มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งค่าความเที่ยง Precision ก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งเป็นค่าที่จะบ่งบอกว่า การทำซ้ำ ผลิตซ้ำ มีความสเถียรมากน้อยแค่ไหน และด้วยคำว่า Precision เราสามารถต่อยอดด้วยหลัก สถิติ SPC (Fact-M ซอฟต์แวร์ SPC อุตสาหกรรม) หรือการพล็อตกราฟต่างๆ ที่ทำให้เรา สามารถ Monitoring หากมีข้อผิดพลาดต่างๆ เพื่อค่าที่มีความเที่ยง
เพื่อคุณภาพการผลิตที่พึงพอใจที่สุด และต่อยอดด้วยการเพิ่มระดับคุณภาพของการผลิต
โดยการเพิ่มในที่นี้ อาจไม่ได้เรียกว่าการเพิ่มสะทีเดียว แต่ถ้าเป็นกันใช้คำว่า Ensure หรือความแน่ใจ เครื่องมือเรา และชิ้นงานที่ถูกผลิตมา จะมีความแม่นยำและมีความเที่ยงสูง
การเพิ่มค่า Accuracy อาจไม่สามารถเพิ่มได้ด้วยการไปปรับค่า ± จากใน Spec sheet แต่มันคือการที่เราจะต้องมั่นใจ ว่าเครื่องมือของเรายังคงได้มาตฐานจากโรงงานเสมอและคำตอบก็คือ การแคล หรือ การสอบเทียบ เพื่อการตรวจสอบให้เครื่องมืออยู่ในสภาพสมบูรณ์เสมอ
และเราเองก็ไม่ควรพลาดการสอบเทียบเลยสักครั้ง (ซอฟต์แวร์ตารางสอบเทียบ Fact-C)
และทั้งนี้แน่นอนว่าความแม่นยำ ไม่ได้มาจากเครื่องมือเพียงอย่างเดียว เพราะเครื่องมือก็ต้องการผู้ใช้งาน ดังนั่นการ เทรนด์นิ่ง อบรม เจ้าหน้าที่ พนักงานในการใช้งานเครื่องมือก็สำคัญเช่นเดียวกัน และท้ายสุด คือการใช้เครื่องมือให้ถูกจุดประสงค์การใช้งาน
การที่เราจะผลิตซ้ำให้อยู่ในระยะของมาตราฐานเดิมนั้น มีหลายๆอย่างที่เราต้องคำนึงถึง ซึ่งนับได้ว่าสามารถแตกสาขาย่อยไปได้อีกมาก เพราะการที่เราจะรักษาระยะมาตรฐาน ไม่ได้เกิดขึ้นที่แผนกของผลิตเพียงฝ่ายเดียว แต่คือการที่หลายๆแผนกในโรงงาน พยายามรักษาระยะของมาตรฐานไว้ ที่รวมทั้ง แผนกฝ่ายการผลิต QC QA ฝ่ายด้านวัส Material Engineer หรือการวัด และอีกมากมาย เพื่อการรักษาระดับมาตรฐานการผลิตซ้ำไว้
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า