OD (Outer Diameter) ไดมิเตอร์ และ ID (Inner Diameter) ไดมิเตอร์ คืออะไร

ID (Inner Diameter) หรือ OD (Outer Diameter) คืออะไร และ เทคนิคการการวัด ID OD

OD และ ID เป็นคำย่อที่ใช้บ่อยในเอกสารทางเทคนิคและการสื่อสารทั่วๆไป โดย OD ย่อมาจากเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (outer diameter) และ ID ย่อมาจากเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (inner diameter)  คำย่อ ID OD มีการใช้งานที่บ่อยครั้งมาก ด้วยปัจจัยหลายๆส่วนไม่ว่าจะมาจากข้อจำกัดด้านพื้นที่ในเอกสาร และ พูดได้ง่ายมากกว่า

การเข้าใจคำย่อ คำศัพท์พวกนี้มีความสำคัญอย่างมาก นอกจาก OD และ ID แล้ว ก็ยังมีทั้งความหนา Thickness อีกด้วย ก็เป็นอีกคำที่เราควรรู้จัก เมื่อเราจินตนาการถึงวัตถุที่มีลักษณะคล้ายวงแหวน คุณจะสังเกตเห็นว่าความหนา คือระยะห่างระหว่างพื้นผิวด้านนอกและด้านใน

ID เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน Inner Diameter

ID - Inner Diameter

ID หรือย่อมาจาก Inner Diameter หรือก็คือเส้นผ่านศูนย์กลางของวงแหวนรอบใน หรือเรียกว่าจากขอบด้านใน ด้านนึงไปถึงอีกด้านนึง

OD เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก Outer Diameter

OD - Outer Diameter

และ OD ที่ย่อมาจาก Outer Diameter หรือ เส้นผ่านศูนย์กลางของวงแหวนรอบนอก หรือขอบด้านนอก ด้านนึงไปถึงอีกด้านนึง

ความหนาของชิ้นงาน Thickness

OD - Outer Diameter

ความหนาของชิ้นงานสามารถคำนวณได้จากความแตกต่างระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (OD) และเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (ID) หรือวัดโดยตรงด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ Air micrometer และ VMM Measuring machine โดยการเลือกวิธีการ ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะและลักษณะของชิ้นงาน

เราจะวัด ID OD ได้ยังไงกันละ ?

งั้นเรามาพูดกันต่อถึง การวัด OD แน่นอนว่าการวัด OD หรือ Outer Diameter ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย ซึ่ง เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ทั่วไปก็สามารถวัดได้เช่นกัน หรือแม้แต่ เครื่องมือ Air Micrometer ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมอย่าง ID (Inner Diameter), OD (Outer Diameter) และรวมถึงความหนา (Thickness)

Air micrometer Diagram การวัดชิ้นด้วยอากาศ วัดชิ้นงาน วัด ไดมิเตอร์ภายนอก
Picture of Koffaree S.

Koffaree S.

Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม

ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า