โดยปกติ เมื่อปัญหาเกิดขึ้น เรามักจะต้องมีคำถามตามมาเสมอนั้นก็คือ เราแก้ไขปัญหายังไง และเริ่มแก้ไขปัญหาตรงหน้าทันที ซึ่งมัน คือสิ่งที่ผิดไหม?….
เราก็ไม่อาจสามารตอบได้ว่ามันผิด เพราะอาจจะเนื่องด้วย เวลาของการผลิต ระยะเวลาจำกัด หรือค่าใช้จ่าย Cost ต่างๆ
แล้วระยะยาวละ?… เราอาจจะมองข้ามการแก้ไขปัญหาระยะยาวหรือปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยความเคยชิน ซึ่งการแก้ไขปัญหาระยะยาว จะลด Cost ลด ระยะเวลา และทำให้เราเข้าใจปัญหามากขึ้น และรับมือกับปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น นั้นก็หมายถึง กระบวนการผลิตที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม
ซึ่งใน 1 ปัญหา สามารถแตกออกมาได้อีกนับ 10 นับ 100 ปัญหาย่อยออกมา หรือที่เราอาจจะเคยเห็น เคยอ่านกันบ้างใน Root cause analysis (Why-How) หรือการวิเคราะห์ปัญหาแบบผังก้างปลา Fish bone Diagram (Ishikawa Diagram)
แต่ที่เรามาพูดถึงวันนี้คือการ วิเคราะห์ที่ Practical มากขึ้น คือการใช้ของ Ishikawa Diagram ออกมาเป็นการใช้งานจริงคร่าวๆ
อันนี้เราขอยกตัวอย่างเป็น Case study แบบคร่าวๆ จากปัญหาง่ายๆ ทั่วไปกันก่อนนะครับ
ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก เครื่องอุณหภูมิสูงเกินไป (Overheat) จนชิ้นงานระยะคลาดเคลื่อน หรือขนาดชิ้นงานสุดท้าย NG
การมองปัญหา เริ่มจากการวิเคราะห์ ปัญหาและกระจายสาเหตุต่างๆออกไป
- ปัญหาที่อุณหภูมิสูงเกินไป
- ปัญหาที่การล่อเย็น >>> ระบบระบายความร้อน ระบบลดอุณหภูมิ มีปัญหาไหม
- การถ่ายเทอากาศ หรือความชื้นต่างๆ ของพื้นที่ปฏิบัติงาน
- วัสดุต่างๆที่ใช้กับเครื่อง ไม่มีความเหมาะสม >>> เลือกใช้งานเครื่องให้ตรงกับวัสดุดีกว่าไหม?
- ระยะเวลาในการพักเครื่องพอไหม?
- Working Condition ในสภาวะต่างๆ ผิดจากที่ควรเป็น หรืออันตรายต่อเครื่องไหมไหม?
- อายุของเครื่องนานไหม?
- การสอบเทียบล่าสุดเมื่อไร?
- มีการซ่อม Maintenance เมื่อไร?
หรือจริงๆปัญหาอาจไม่ได้เกิดขึ้นที่เครื่อง
แต่คือความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัด เครื่องมือตรวจสอบ ซึ่งบางครั้งปัญหาอาจจะมาจาก…
- การ ใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ได้ผ่านการสอบเทียบ
- เครื่องมือวัดที่ผิดจุดประสงค์
หรือความคลาดเคลื่อนของการตรวจสอบ การวัดต่างๆ แต่คุณจะแน่ใจได้ยังไงว่าปัญหาอยู่แค่ที่เครื่องหรือวัสดุต่างๆ เพราะปัญหามาได้ในทุกรูปแบบ ที่อาจเป็นเรื่องการ Monitoring ของชิ้นงานที่ถูกผลิต ผิดพลาดไป
และนี้คือคร่าวๆ ของการยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดจาก 1 ปัญหา มันจะทำให้เราต่อยอดออกไป เข้าสู่ Process กระบวนการของการแก้ไขปัญหา ป้องกันปัญหา ลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาในอนาคต
Problem Solving หรือการแก้ไขปัญหาในอุตสาหรกรรม อาจไม่ใช่แค่การซื้อเครื่องใหม่มาเปลี่ยน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถเกิดจากได้หลายๆส่วน การมองปัญหาที่สเกลใหญ่ขึ้น และกว้างขึ้น อาจทำให้เรามองเห็นปัญหาในมุมมองใหม่ๆ หรือ ปัญหาในภาพรวมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
ถ้าคุณถอยออกห่างจากปัญหาที่อยู่ใกล้คุณมากๆ ปัญหานั้นอาจจะดูเล็กลง หากเทียบกับปัญหาอะไรอีกมากมาย
Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม
ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า