เครื่องมือวัด อุตสาหกรรมอาหาร ตามมาตรฐาน ISO, GMP และ HACCP

เครื่องมือวัด อุตสาหกรรมอาหาร ตามมาตรฐานสากลของ อุตสาหกรรมอาหาร

ในอุตสาหกรรมอาหาร คุณภาพของอาหาร ไม่ได้ถูกวัดด้วยความอร่อย แต่ความอร่อยคือรสชาติและ การตลาดที่ทำให้สินค้าขายได้ แต่โจทย์สำคัญของ อุตสาหกรรมอาหาร นั้นก็คือ อาหารที่ผลิตออกมา ตรงไปตามมาตรฐานไหม ผ่านการตรวจสอบทั้งหมดไหม เพราะคุณภาพที่ดี คือ ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเองด้วย

คุณภาพของอาหารไม่ใช่ความอร่อย แต่อาหารที่ผ่านมาตรฐาน และการตรวจสอบทั้งหมด

มาตรฐานและคุณภาพ ของอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry)

GMP (Good Manufacturing Practice) คืออะไร

GMP คือมาตรฐานสุขลักษณะทั่วไป ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานที่รองรับถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และถูกตั้งเกณฑ์ไว้ด้วยกัน <<อ่านต่อเพิ่มเติม>>

** Specific GMP หรือ GMP เฉพาะ จะเป็นมาตรฐานที่เจาะจงมากขึ้น เช่น GMP น้ำบริโภค GMP ของเหลวบริโภค ซึ่งก็จะต้องมีการผ่านกรรมวิธี ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไหม เพื่อให้การผลิตสินค้า ผ่านกระบวนการต่างๆ ในการผลิต ตั้งแต่ต้น จนถึงมือผู้บริโถค อย่างปลอดภัย

HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) คืออะไร

HACCP คือ การวิเคราะห์ จุดควบคุมวิกฤต ซึ่งก็คือมาตรการ การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ใน กระบวนการขั้นตอนการผลิต และยังมีการวิเคราะห์ และป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีและสิ่งสกปรกต่างๆ และหลายๆครั้งก็จะต้องมีการตรวจสอบ Contamination Analysis เพื่อหาเชื้อ สิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนอีกด้วย และรวมทั้งยังมีการศึกษา และหาทางป้องกันเฝ้าระวังอีกด้วย จะมีหลักการของ HACCP จะอ้างอิงอยู่ด้วยกัน 7 หลักการ <<อ่านต่อเพิ่มเติม>>

ISO 22000 คืออะไร

ISO  22000 คือมาตรฐาน ระบบการบริหารงานความปลอดภัยด้านอาหาร โดยมาตรฐานนี้จะเกี่ยวข้องกับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ตามข้อกำหนดของ มาตรฐาน ISO 22000 <<อ่านต่อเพิ่มเติม>>

ทำไมต้องใช้ เครื่องมือวัด ในอุตสาหกรรมอาหาร

เราต้องถามกลับไปว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าการผลิตของเรามีคุณภาพ แน่นอนเราจะต้องใช้เครื่องมือวัด เพราะเครื่องมือวัดคือ ตัวบ่งชี้ว่าการผลิตของเรามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน เพราะเครื่องมือวัดต่างๆ ที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมีอยู่มากมาย ซึ่งเราจะเริ่มพบเห็นกันได้บ่อยขึ้นตาม Youtube, Tiktok หรือ Social platform ต่างๆ เราจะได้เห็นเครื่องมือวัดต่างๆมากขึ้น เช่นการวัดขนาดไดมิเตอร์องุ่นไชน์มัสแคท และการวัดค่า Brix จากการสุ่มวัดและทำค่าเฉลี่ย หรือ Control chart ต่างๆ ก่อนจะนำมาเป็นวัตถุดิบให้ผู้บริโภค (วีดีโอจากร้านของ Bearhouse) และวีดีโออีกมากมายที่เราพบเห็นได้มากขึ้น เราจึงเห็นได้บ่อยขึ้น ว่าเครื่องมือวัด ก็มีความจำเป็นกับอุตสาหกรรมอาหาร มากเช่นเดียวกัน

เครื่องมือวัด สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร มีอะไรบ้าง

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมอาหาร เราคงไม่ได้มาพูดถึงเครื่องมือวัดขนาดต่างๆ (Dimensional measuring) แต่เป็นเครื่องมือวัดที่อุตสาหกรรมอาหาร ต้องมีและ นับว่ามีความจำเป็น เป็นอย่างมากเพื่อควบคุมคุณภาพต่างๆ ในการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร

การหักเหของแสงถูกนำมาใช้ใน Refractometer เพื่อการวัดหาค่าต่างๆของของเหลวนั้นๆ ซึ่งจำแนกออกมาได้หลายประเภทเช่น

และยังมีอีกมากมายที่สามารถวัดได้ด้วย Refractometer

Thermometers สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

โดย เครื่องวัดอุณหภูมิ Thermometers โดยเราจะแบ่งเป็นสองจุดนั้นก็คือ การวัดอุณหภูมิตรงๆที่ตัว อาหาร หรือตัววัตถุดิบ และอีกส่วน คือการวัดอุณหภูมิห้องปฎิบัติการต่างๆและความชื้นต่างๆ

Thermometer ในการวัดอาหาร

โดย Thermometer เครื่องวัดอุณหภูมิจำพวกนี้คือการที่เราวัดไปที่อาหาร หรือวัตถุดิบตรงๆ เช่น เครื่องวัดน้ำมันที่ใช้ทอด อุณหภูมิหลังจากกระบวนผลิต อุณหภูมิวัตถุดิบจากการแช่แข็ง และอื่นๆอีกมากมาย

เครื่องวัดอุณหภูมิ ที่จะติดตั้งอยู่ในพื้นที่ปฎิบัติงานต่างๆ เพื่อการตรวจสอบ อุณหภูมิและความชื้น เพื่อทำการปรับปรุงให้พอเหมาะ เพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจากค่ามาตรฐาน อาจทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียเติบโตและเกิดการเน่าเสีย และ อาจทำให้มีเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ หรือแม้แต่ ปฏิกริยาทางเคมีต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฎิบัติการได้อีกด้วย

โดยการชั่งน้ำหนักมีความจำเป็น เป็นอยากมาก ตั้งแต่กระบวนการผลิต ขั้นแรกเริ่มของการจัดสรรวัตถุดิบ ถึง บรรจุลงบรรจุภัณฑ์ เพราะถ้าเราสังเกตุข้างกล้องที่เขียน น้ำหนักสุทธิ 40 กรัม สินค้าก็ควรที่จะมีน้ำหนัก 40 กรัม +- ตามเกณฑ์

วัตถุดิบต่างๆ ก็ต้องมีการคำนวน เพื่อการควรคุมมาตรฐาน และคุณภาพต่างๆอีกด้วยเช่นเดียวกัน และเครื่องชั่งในอุตสาหกรรมอาหาร ก็จะแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ (อาจมีเพิ่มเติมได้) นั้นก็คือ การชั่งน้ำหนักปกติ และการชั่งน้ำหนักเฉพาะ เช่นการชั่งวัดความชื้น

Precision Balance scale

เครื่องชั่งละเอียด ที่ชั่งได้ตั้งแต่น้ำหนักความละเอียดที่เริ่มน้อยมาก (0.0001g) และการเลือกใช้ก็ควรเป็นไปตามน้ำหนัก ที่ต้องการจะชั่งวัดด้วยเช่นเดียวกัน

Moisture Analyzer เครื่องชั่งหาค่าความชื้น

ด้วยหลักการให้ความร้อน เพื่อหาค่าความชื้นที่เกิดจากการระเหยของชิ้นงาน และยังสามารถนำข้อมูลความชื้นไปวิเคราะห์เพิ่มเติมได้อีกด้วย

จะเกิดอะไรขึ้นหากมีโลหะลงไปในอาหารที่ผู้บริโภครับประทาน? แน่นอนมันนับว่าเป็นอันตราเป็นต่อผู้บริโภคมาก ดังนั่น Metal Detector จึงมักนำมาใช้ในขั้นตอนการตรวจหาโลหะ ในขั้นตอนสุดท้ายหลังจากบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ต่างๆแล้ว และ Metal Detector ก็นับเป็นสิ่งที่ต้องมีในมาตรฐาน HACCP อีกด้วยเช่นเดียว

การวิเคราะห์ Contamination ต่างๆ นับว่ามีความจำเป็น เป็นอย่างมาก เพราะทุกอุตสาหกรรมอาหาร จะต้องมีการใช้น้ำ หรือ ของเหลวต่างๆ อยู่แล้ว เพื่อการวิเคราะห์ Contamination ต่างๆ ในถาดเพาะเชื้อ เพื่อตรวจหาความสะอาดของน้ำ ของของเหลวต่างๆ แต่เชื้อที่อาจส่งผลต่อกระบวนการผลิตและคุณภาพของการผลิตได้

และแน่นอน เครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมอาหาร ยังมีอยู่อีกมากมาย ที่ไม่ว่าจะเป็น Rheometer ที่วัดพื้นผิว และความนุ่มของอาหาร หรือแต่การวัด Texture การวัดความกรอบ หรือสีในอาหารต่างๆ ดังนั่นการเลือกเครื่องมือวัดมาใช้ใน อุตสาหกรรมอาหาร จึงต้องคำนึงอยู่สองสิ่งนั้นก็คือ จุดประสงค์ของเคื่องมือวัด หรือ เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพต่างๆ

อีกหนึ่งส่วนที่ขาดไม่ได้นั้นก็คือ
ซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

ซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามา ทำให้การทำงานในโรงงานง่ายขึ้น เช่น

  • Fact-M ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวัด
  • Fact-C ที่ช่วยในการจัดตารางสอบเทียบ หรือการทวนสอบ (Traceability) ที่มีความจำเป็นเป็นอย่างมาก ในเรื่องของมาตรฐานต่างๆ (GMP, HACCP, ISO 22000)
  • Fact-D ในการจัดการกับข้อมูลทั้งหมด เพราะข้อมูลผลการวัด สอบเทียบ ทวนสอบ หรือแม้แต่เอกสารต่างๆ ก็มีอยู่มากกว่าปกติ เนื่องจากการรับรองมาตรฐานต่างๆ ผลการวัดแต่ละขั้นตอนมีจำนวนอยู่ไม่น้อย
Picture of Koffaree S.

Koffaree S.

Digital marketing and Content designer of IKKI Thailand
ตลาดอุตสาหกรรม นับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของประเทศ และการเข้าใจตลาดของอุตสาหกรรม ในทัศนคติของตัวผมเอง ผมมองคำว่า User Experience หรือ ประสบการ์ณการใช้งานของผู้ใช้งาน เป็นหัวใจหลักของการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรม

ในทุกๆครั้ง คำถามมากมายที่ผมมักถามตัวผมเองก่อนเสมอ… สินค้าจะไปเพิ่มอะไรในโรงงาน คุณภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไหม ระบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ระบบการทำงานดีขึ้นไหม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน…
ซึ่งการตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ อันดับแรก คือการมองเห็นศักยภาพของสินค้าของเรา หน้าที่เราจึงเป็นการที่เราจะต้องเข้าใจ ระบบการทำงานในโรงงานทั้งหมด ในสินค้าของเรา และการใช้งานของสินค้า เพื่อการมอบ User Experience ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า